วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

อุษาคเณย์ และ เอเซีย ตามระยะเวลา

ก่อน พ.ศ. 400 ปี หรือก่อนนั้นได้กำเนิดชุมชนเมือง ซึ่งต่อมา คือ เมืองละโว้ (ลวปุระ) ซึ่งเป็นคนขอมที่น่าจะเก่าแก่กว่าขอมในเขมร

พ.ศ. 500 บริเวณจังหวัดลพบุรี มีชุมชนเมืองขนาดใหญ่ หลักฐานจากกรมศิลปากรพบว่ามีแหล่งถลุงทองแดงขนาดใหญ่ (อาจใหญ่ที่สุดในอุษาคเนย์)

พ.ศ. 23 พระเจ้าดาริอุส แห่ง เปอร์เซีย แผ่อิทธิพลเข้ามาใน ปัญจาบ และ คันธาระ

พ.ศ. 201 ก่อตั้ง อาณาจักรเมาริยะ (พ.ศ. 202 - 339 อยู่ในเขตอินเดียปัจจุบัน) โดย พระเจ้าจันทรคุปต์ เมารยะ เป็นเจ้าชายแห่ง แคว้นโมริยะ ที่โค่นล้มอำนาจ ราชวงศ์นันทา โดยการสนับสนุนและยุยงจาก ปราชญ์โกติลยะ พระองค์เป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าพินทุสาร และเป็นพระอัยกาของ พระเจ้าอโศกมหาราช บั้นปลายชีวิตพระองค์มอบบัลลังก์ให้แก่ พระเจ้าพินทุสาร แล้วออกผนวช บำเพ็ญตบะตามแบบของ ศาสนาเชน จนสวรรคต เมื่อ พ.ศ. 226

พ.ศ. 209 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เข้าบุกอินเดียและเอาชนะ พระเจ้าปุรุ แห่ง แคว้นเปารพ ที่แม่น้ำไฮดาสพ์ (Hydaspes) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ตั้งข้าหลวง (Satrap) ปกครองแคว้นต่างๆ รวมถึงอินเดีย แคว้นคันธาระ จึงกลายเป็นเบ้าหลอมทางวัฒนธรรมระหว่างกรีกและอินเดีย ทำให้เกิดอารยธรรมอินเดีย-กรีกและศิลปะพุทธศาสนาแบบกรีก เกิดพระพุทธรูปเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 214 พระเจ้าพินทุสาร แห่ง อาณาจักรเมาริยะ เสด็จสวรรคต เจ้าชายอโศกพระชนมายุ 30 พรรษา ได้เสด็จกลับพระนครปาฏลีบุตร ทำสงครามชิงราชสมบัติ

พ.ศ. 218 เจ้าชายอโศก ทำพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชย์หลังจากทำสงครามชิงราชบัลลังก์สำเร็จ พร้อมกับทรงสถาปนา พระนางอสันธิมิตตา เป็นพระอัครมเหสี

พ.ศ. 236 พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์โมริยะ (อินเดีย) เหลนของพระเจ้าพิมพิสาร ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่ กรุงปาฏลีบุตร หลังจากได้เป็นประธานในการทำสังคายนาคำสอนของพุทธครั้งที่ 3 แล้วจึงส่งคณะสมณทูตออกไปประกาศพุทธศาสนายังอาณาจักรต่างๆ ทั่ว อินเดีย ลังกา และ ในดินแดนต่างๆ ได้แก่
- ประเทศกัสมิระ และ คันธาระ (แคชเมีย และ อัฟกานิสถาน ในปัจจุบัน)
- มหีสประเทศ (ไนซัมไฮเดอร์บัด ในปัจจุบัน)
- วนาวาสีประเทศ (ทะเลทราย แคว้นราชปุตตนะ ใน อินเดีย ในปัจจุบัน)
- อปรัตกประเทศ (ปัญจาบ ด้านตะวันตก ในปัจจุบัน)
- มหารัฐประเทศ (แคว้นมหารัฐ แถบยอดน้ำโคธาวารี อยู่ห่าง เมืองบอมเบย์ 150 ไมล์ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในปัจจุบัน)
- โยนโลกประเทศ (แบกเตรีย ใน ประเทศอิหร่าน (เปอร์เซีย) ปัจจุบัน)
- หิมวันตประเทศ (หมู่เกาะหิมาลัย ในปัจจุบัน)
- สุวรรณภูมิประเทศ (พม่า ลาว เขมร ไทย ตลอดแหลมลายู ในปัจจุบัน)
- ลังกาทวีป
- ทางทิศตะวันตกประกาศไปถึง แคว้นไซเรีย อียิปต์ มาชิโดเนียในยุโรป

พ.ศ. 611 เกิด อาณาจักรพนม (ฟูนัน) โดย พระเจ้าโกณฑิณยะชัยวรมัน เป็นกษัตริย์องค์แรกซึ่งเป็นพราห์มเดินทางมาจากอินเดีย แล้วอภิเษกกับ นางพญาขอม (น่าจะเป็นเจ้าหญิง) คนพื้นเมืองเป็นมเหสี ชาวอาณาจักรพนม (ฟูนัน) เรียกเมืองหลวงว่า "นอ-กอร กก-ทะโหลก" (เมืองพระนคร)  อาณาจักรพนม (ฟูนัน) นับถือ ศาสนาพุทธ และ ศาสนาฮินดู พบจารึกเป็นภาษาสันสกฤต มีความรุ่งเรืองอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6 – 11 ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง (พื้นที่ปัจจุบันอยู่ใน กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และ ภาคใต้ของไทย ลงมาถึงแหลมมลายู) อาณาจักรพนม (ฟูนัน) น่าจะเป็นอาณาจักรแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชนชั้นสูงของอาณาจักรเป็นพวกมาลาโยโพลีนีเซียน ชาวจีนบันทึกว่าพวกชนชั้นพื้นเมืองของฟูนันหน้าตาหน้าเกลียด ตัวเล็ก ผมหยิก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพวกเนกริโตและเมลานีเซียน กษัตริย์องค์สุดท้ายคือ พระเจ้ารุทรวรมัน

พ.ศ. 700 - 800 ปรากฏหลักฐานว่ามีอาณาจักรบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ จากหลักฐานที่มีชาว อินเดีย อาหรับ กรีก โรมัน และ จีน เดินเรือเข้ามาค้าขายยังเมืองต่างๆ ในดินแดนแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเอกสารของ กรีก โรมัน อาหรับ และ อินเดีย เรียกดินแดนแถบนี้ว่า แหลมทอง หรือ สุวรรณภูมิ ในเอกสารของจีน ระบุว่า ดินแดนสุวรรณภูมิ มีรัฐสำคัญในบริเวณนี้ ได้แก่
- ฟูนัน (อาณาจักรพนม) มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 – 11
- กิมหลิน (อาณาจักรสุวรรณบุรี)
- หลั่งยะสิว (อาณาจักรนครชัยศรี)
- พันพัน (แหล่งโบราณบ้านดอน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
- ลังเกียสุ (อาณาจักรลังกาสุกะ ต่อมาคือ ปัตตานี) มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศรรตวรรษที่ 7 - 11 ตั้งอยู่บริเวณมัสยิดแห่งกรือเซะ ระหว่าง อำเภอเมืองปัตตานี กับ อำเภอยะหริ่ง และ บริเวณอำเภอยะรัง ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปัตตานี พวกชวาเรียก นครกีรติกามา มีอาณาเขตครอบคลุมทะเลทั้ง 2 ฝั่ง ทางเหนือถึง ตะกั่วป่า และ ตรัง ทางใต้ตลอดแหลมมลายู

พ.ศ. 735 เกิด อาณาจักรจามปา โดย ชาวพื้นเมืองชื่อ คิว-เหลียน สถาปนาตนเป็นกษัตริย์ตั้ง ขึ้นที่บริเวณทิศใต้ของจังหวัดทัวเทียนในเวียดนามปัจจุบัน

พ.ศ. 786 อาณาจักรพนม (ฟูนัน) ได้ส่งคณะทูตไปประเทศจีน พร้อมกับส่งนักดนตรีและพืชผลในประเทศเป็นเครื่องราชบรรณาการ

พ.ศ. 880 อาณาจักรจามปา ทำสงครามกับ จีน เพื่อแย่งชิง เมืองเชนาน กองทัพ อาณาจักรจามปา ยกไปตีถึง แคว้นตังเกี๋ย

พ.ศ. 965 อาณาจักร ผั่น ผั่น (มีอายุระหว่างพุทธศรรตวรรษที่ 8 -12) ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักจีน จากบันทึกราชสำนักจีนบันทึกว่า เป็น อาณาจักรอยู่ติดทะเล (น่าจะอยู่บริเวณ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ชาวเมืองนับถือศาสนาพุทธ

พ.ศ. 966 พระภิกษุคุณวรมัน หัวหน้าคณะสงฆ์ ที่เดินทางมาจาก แคว้นคันธาระ-กาปิศะ ที่จะมุ่งหน้าไปยัง สุวรรณทวีป (หมู่เกาะชวาในแถบอินโดนีเซีย) เมื่อเดินทางมาถึง อาณาจักรพนม (ฟูนัน) ตรงบริเวณปากแม่น้ำโขง (ในประเทศเขมรปัจจุบัน) จึงได้เผยแพร่ศาสนาพุทธที่ อาณาจักรพนม (ฟูนัน) ก่อนที่จะเดินทางต่อไป สุวรรณทวีป พบจารึกของ กษัตริย์ฟูนัน ที่จารึกถึง พระคุณวรมัน เป็นอักษรสันสกฤต (อักษรคฤนห์) สมัยราชวงศ์ปัลลวะ

พ.ศ. 977 พระเจ้าโกณธิญญะที่ 2 แห่งอาณาจักรพนม (ฟูนัน) สวรรคต

พ.ศ. 989 กองทัพจีน ยกทัพมาตี เมืองวิชัย ราชธานีของ อาณาจักรจามปา (เมืองบิญดิ่ญในปัจจุบัน) ได้สำเร็จ อาณาจักรจามปา จึงตกเป็นประเทศราชของ จีน ช่วงนี้มีชาวจีน ชื่อ หม่าตวนหลิน เข้ามาบันทึกเรื่องชาวหลินอี้ (ชาวจาม)

พ.ศ. 996 อาณาจักร ผั่น ผั่น (มีอายุระหว่างพุทธศรรตวรรษที่ 8 -12) ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักจีน จากบันทึกราชสำนักจีนบันทึกว่า เป็น อาณาจักรอยู่ติดทะเล (น่าจะอยู่บริเวณ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ชาวเมืองนับถือศาสนาพุทธ

พ.ศ. 997 อาณาจักร ผั่น ผั่น (มีอายุระหว่างพุทธศรรตวรรษที่ 8 -12) ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักจีน จากบันทึกราชสำนักจีนบันทึกว่า เป็น อาณาจักรอยู่ติดทะเล (น่าจะอยู่บริเวณ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ชาวเมืองนับถือศาสนาพุทธ

พ.ศ. 1000 อาณาจักร ผั่น ผั่น (มีอายุระหว่างพุทธศรรตวรรษที่ 8 -12) ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักจีน จากบันทึกราชสำนักจีนบันทึกว่า เป็น อาณาจักรอยู่ติดทะเล (น่าจะอยู่บริเวณ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ชาวเมืองนับถือศาสนาพุทธ

พ.ศ. 1000 จากหลักฐานทางโบราณคดีและตำนานพงศาวดาร บอกให้รู้ว่า อยุธยา ในยุคนั้นเป็นป่าชายเลน มีอาณาจักรต่างๆ ในพื้นที่ประเทศไทย ภาคกลาง ได้แก่ รัฐจินหลิน (อาจเป็น อู่ทอง สุพรรณบุรี) รัฐหลั่งยะสิว (อาจเป็น นครปฐม) รัฐโถโลโปตี ฯลฯ และรัฐอื่นๆ ทั่วภูมิภาคสุวรรณภูมิอุษาคเนย์

พ.ศ. 1000 เกิด อาณาจักรโคตรบูร (พ.ศ. 1000 - 1500) ตั้งอยู่ทางภาคอีสานของไทย ครอบคลุมบริเวณ ฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่ อุดรธานี หนองคาย เวียงจันทน์ หนองหานหลวง (สกลนคร) มรุกขนคร (นครพนม) มุกดาหาร อำนาจเจริญ ถึง อุบลราชธานี เป็นอาณาจักรที่นับถือ พุทธศาสนา มีพระเจดีย์สำคัญ คือ พระธาตุพนม มี เมืองมรุกขนคร เป็นเมืองหลวง (ใต้เมืองท่าแขก) บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง อาณาจักรโคตรบูร เสื่อมลงเมื่อถูกอาณาจักรล้านช้างของลาวนำโดย เจ้าฟ้างุ้ม โจมตีและเกิดโรคระบาด

พ.ศ. 1007 อาณาจักร ผั่น ผั่น ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักจีน จากบันทึกราชสำนักจีนบันทึกว่า เป็น อาณาจักรอยู่ติดทะเล (น่าจะอยู่บริเวณ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ชาวเมืองนับถือศาสนาพุทธ

พ.ศ. 1021 พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 แห่งอาณาจักรพนม (ฟูนัน) ขึ้นครองราชย์

พ.ศ. 1046 อาณาจักรพนม (ฟูนัน) ส่งราชทูตไปประเทศจีน และจักรพรรดิ์ของจีนได้มีพระราชโองการ ว่า
“พระราชาแห่งรัฐฟูนัน ทรงพระนามว่า โกณฑิยะชัยวรมัน ประทับอยู่สุดเขตโพ้นทะเล ราชวงศ์ของพระองค์ได้ทรงปกครองบรรดาประเทศโพ้นทะเลทางใต้ และได้ทรงแสดงความซื่อสัตย์สุจริตด้วยการส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายหลายครั้ง บัดนี้สมควรจะตอบแทนให้ทัดเทียมกันและให้ตำแหน่งอันมีเกียรติยศ คือตำแหน่งขุนพลแห่งภาคสันติใต้ กษัตริย์แห่งฟูนัน (ฟูนันอ๋อง)"

พ.ศ. 1058 อาณาจักร หยั่ง ยะ สิว อาณาจักรที่ตั้งขึ้นในพุทธศรรตวรรษที่ 7 น่าจะมีที่ตั้งบริเวณ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ในปัจจุบัน ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักจีนสมัย เหลียงอู่ฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์เหลียง (พ.ศ. 1045 - 1092)

พ.ศ. 1068 พระโพธิธรรม (จีน เรียกว่า ตั๊กม้อ) เป็นพระโอรสของ กษัตริย์แคว้นตักคันธาระ (น่าจะเป็นเชื้อสายราชวงศ์กุษาณ 7) ได้จารึกเดินทางมาถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง และเผยแพร่ศาสนาพุทธอยู่ 3 ปี ก่อนที่ พระโพธิธรรม จะเดินทางขึ้นไปเผยแพร่ในดินแดนจีน

พ.ศ. 1072 อาณาจักร ผั่น ผั่น (มีอายุระหว่างพุทธศรรตวรรษที่ 8 -12) ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักจีน จากบันทึกราชสำนักจีนบันทึกว่า เป็น อาณาจักรอยู่ติดทะเล (น่าจะอยู่บริเวณ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ชาวเมืองนับถือศาสนาพุทธ

พ.ศ. 1077 อาณาจักร ผั่น ผั่น (มีอายุระหว่างพุทธศรรตวรรษที่ 8 -12) ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักจีน จากบันทึกราชสำนักจีนบันทึกว่า เป็น อาณาจักรอยู่ติดทะเล (น่าจะอยู่บริเวณ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ชาวเมืองนับถือศาสนาพุทธ

พ.ศ. 1097 พระเจ้าภววรมัน (ปฐมกษัตริย์อาณาจักรอิศานปุระหรือเจนละ) ซึ่งเป็นนัดดาของ พระเจ้ารุทรวรมัน ได้ทำการโค่นอำนาจของ พระเจ้ารุทรวรมัน กษัตริย์อาณาจักรพนม (ฟูนัน) โดยเข้าตี เมืองวยาธปุระ เมืองหลวงของ อาณาจักรพนม (ฟูนัน) แตก และต่อมาสมัย พระเจ้าจิตรเสน ซึ่งเป็นพระอนุชาของ พระเจ้าภววรมัน ก็ได้เข้ายึดครอง อาณาจักรพนม (ฟูนัน) ขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า พระเจ้ามเหนทรวรมันที่ 1 โดยตั้งเมืองเศรษฐปุระ เป็นเมืองหลวง (ปัจจุบันบริเวณเมืองปากเซ หรือ จำปาศักดิ์ ในประเทศลาว) จึงทำให้อาณาจักรฟูนันล่มสลายไป

พ.ศ. 1100 (ประมาณ) เกิด อาณาจักรทวารวดี ที่คาดว่ามีอายุอยู่ในช่วง พ.ศ. 1100 - 1600 จากบันทึกการเดินทางของภิกษุซวนจั๋ง (พระถังซำจั๋ง) ที่เดินทางผ่านเมื่อ พ.ศ. 1200 ว่า มีอาณาจักรหนึ่งชื่อว่า โถโลโปตี หรือ โกโลโปตี (Tolopoti) ตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรอีศานปุระ (เจนละ ที่อยู่บริเวณ เขมร+ภาคตะวันออก+ภาคอีสานของไทยในปัจจุบัน) กับ อาณาจักรศรีเกษตร (บริเวณตั้งแต่ตอนกลางขึ้นไปทางเหนือของเมียนมาร์ในปัจจุบัน) จากตำแหน่งที่กล่าว อาณาจักรทวารวดี น่าจะอยู่ในเขตภาคกลางของไทยปัจจุบัน ซึ่งพบโบราณวัตถุเป็นเหรียญเงินที่จารึกด้วยภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศรรตวรรษที่ 13 จากบริเวณ เมืองนครปฐมโบราณ ด้วยข้อความว่า...
"ศรีทวารวดีศวรปุณยะ" ซึ่งแปลได้ว่า
"บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี" หรือ
"บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งศรีทวารวดี" หรือ
"พระเจ้าศรีทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ"
และพบเหรียญลักษณะคล้ายกันอีก 2 เหรียญ ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กับ อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี นักวิชาการบางท่านจึงเชื่อว่าอาจเป็น อำเภออู่ทอง หรือ จังหวัดลพบุรี น่าจะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร ยังมีคำอื่นๆ ที่จีนบันทึกไว้ซึ่งคาดว่าจะหมายถึง อาณาจักรทวารวดี อีก คือคำว่า จวนโลโปติ (Tchouanlopoti) และ เชอโฮโปติ (Chohopoti)

พ.ศ. 1150 ในปีที่ 3 แห่งรัชกาลพระเจ้าสุยเอี๋ยงตี้ พระองค์ทรงมีพระราชโองการแต่งตั้งปัญญาชนชาว เมืองก๊กอู๋ มีนามว่า เสียง-จุ่น แหน่งผู้รักษาพระราชทรัพย์ฝ่ายทหาร เป็นหัวหน้าคณะทูต และ ขุนนางผู้รักษาทรัพยากรธรรมชาติชื่อ เฮ่ง-กุ่น-เจ่ง เป็นอุปทูตอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการของพระจักรพรรดิเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ อาณาจักรซือถู (ชื่อ –ถู-กวั่ว) ท่านราชทูต เสียง-จุ่น ได้จดบันทึกการเดินทางไว้ว่า

พ.ศ. 1151 อาณาจักรซือถู (ซือ ถู กั่ว หรือ เซี้ยะโท้วก๊ก หรือ เฉตูก๊ก) ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์สุย ซึ่งราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์สุย บันทีกไว้ว่า เป็นชนชาติเดียวกับชาวฮูหลำ (ฟูนัน) ประเทศนี้ตั้งอยู่ริมทะเลทางทิศใต้ ซึ่งสืบต่อมาเป็น เสียม หลัว กั่ว (เสียมหลอก๊ก) หรือ สยาม-ละโว้ นั่นเอง

พ.ศ. 1154 พระเจ้าอีศานวรมัน โอรสของ พระเจ้ามเหนทรวรมันที่ 1 (พระเจ้าจิตรเสน) ครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรอิศานปุระ (เจนละ) สืบต่อมา (พ.ศ. 1154 - 1172) พระองค์ได้ย้ายเมืองหลวง จาก เมืองเศรษฐปุระ ไปตั้งที่ เมืองอีศานุปุระ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ เมืองกำปงธม ประมาณ 30 กิโลเมตร

พ.ศ. 1181 ก่อตั้ง อาณาจักรละโว้ โดย พระยากาฬวรรณดิศ บุตรของ พระยากากพัตร และในปีเดียวกันพระยากาฬวรรณดิศ ได้ตั้งจุลศักราช เป็นศักราชประจำอาณาจักรของพระองค์ด้วย (อ้างอิงตามพงศาวดารเหนือ)

พ.ศ. 1182 กษัตริย์ภววรมันที่ 2 จารึกไว้มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงการอุทิศที่นาถวายเป็นกัลปนาแก่วัดพุทธศาสนา ระบุชื่อผู้ถวายว่า ชื่อ โปญ สยำ
- โปญ เป็นยศตำแหน่งของเขมรสมัยก่อนนครธม
- สยำ เป็นชื่อคน จึงเชื่อว่า สยำ ในจารึก พ.ศ. 1182 นั้นก็คือ เสียม

พ.ศ. 1200 (ประมาณ) เกิดอาณาจักรศรีจนาศะ น่าจะมีศูนย์กลางอยู่บริเวณที่ราบสูงโคราช นักวิชาการหลายท่านก็เชื่อว่าน่าจะอยู่ที่เมืองเสมา (เมืองโคราชเก่า) โดยพบหลักฐานเป็นศิลาจารึกที่แปลแล้ว 3 หลัก และมีจารึกที่ค้นพบใหม่ซึ่งยังไม่มีข้อมูลการอ่าน-แปล มีรายละเอียดดังนี้
1. จารึกบ่ออีกา อักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและเขมร ระบุพ.ศ.1411 พบที่บ้านบ่ออีกา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา มี 2 ด้าน
ด้านที่ 1 กล่าวถึงพระราชาแห่งอาณาจักรศรีจนาศะทรงอุทิศปศุสัตว์และทาสทั้งหญิงและชายแก่พระภิกษุสงฆ์
ด้านที่ 2 กล่าวสรรเสริญพระอิศวรและอังศเทพผู้ได้รับดินแดนที่ถูกละทิ้งไปนอกกัมพุเทศ
2. จารึกศรีจนาศะ อักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและเขมร ระบุพ.ศ.1480  พบบริเวณเทวสถานใกล้สะพานชีกุน อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จารึกสรรเสริญ พระศังกร (ศิวะ) และสรรเสริญ พระนางปารพตี ซึ่งรวมกับ พระศิวะ ภายใต้รูปอรรถนารี ต่อจากนั้นกล่าวถึงรายพระนามพระราชาแห่งอาณาจักรจนาศปุระ
3. จารึกเมืองเสมา อักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและเขมร พบที่เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ระบุมหาศักราช 893 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1514
จารึกการกล่าวนมัสการเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม พระอุมา และพระสรัสวดี จากนั้นกล่าวถึง พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 หรือพระบาทบรมวีรโลกว่าทรงเป็นโอรสของ พระเจ้าราเชนทรวรมัน และทรงสืบเชื้อสายมาจากจันทรวงศ์ และกล่าวถึงพระราชกรณียกิจของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 สุดท้ายกล่าวถึงข้าราชการผู้ใหญ่ที่ได้สร้างเทวรูปและพระพุทธรูปไว้หลายองค์ พร้อมทั้งถวายทาสและสิ่งของต่างๆ แด่ศาสนสถาน
4. จารึกหลักที่ 4 เป็นจารึกพบใหม่ระหว่างการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข 1 บริเวณกำแพงแก้วด้านทิศใต้ พ.ศ. 2542 โดยจารึกถูกนำมาเป็นฐานของกำแพงแก้ว อักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร ยังไม่มีผลของการอ่านและแปล ระบุมหาศักราช 849 ตรงกับพ.ศ.1470

พ.ศ. 1260 - 1284 พระวัชรโพธิ์ จาก ราชวงศ์ปัลลวะ (อินเดีย) นำคณะสงฆ์เดินทางเข้ามาเผยแพร่ พุทธศาสนา ในดินแดน สุวรณภูมิ และ สุวรรณทวีป

พ.ศ. 1284 พระธรรมปาละ (จีน เรียกว่า กิมกังกี่) จาก ราชวงศ์ปัลลวะ (อินเดีย) ได้เดินทางไปเผยแพร่ศาสนาพุทธที่ จีน ครั้งที่ 1

พ.ศ. 1289 พระธรรมปาละ (จีน เรียกว่า กิมกังกี่) จาก ราชวงศ์ปัลลวะ (อินเดีย) ได้เดินทางไปเผยแพร่ศาสนาพุทธที่ จีน ครั้งที่ 2 (ครั้งแรก พ.ศ. 1284)



พ.ศ. 1310 ฤๅษีวาสุเทพ สร้าง เมืองหริภุญชัย ขึ้นแล้วทูลเชิญพระนางจามเทวี เจ้าหญิงจาก อาณาจักรละโว้ ขึ้นมาครอง ในหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่าเป็น “อาณาจักรของสมเด็จพระราชินีนาถ” (女王國 หนี่ว์ หวัง กว๋อ ) รุ่งเรืองมา 618 ปี มีกษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์ สมัยพญายีบาครองราชย์ ถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนาเมื่อพญามังรายบุกเข้ายึดครองในปี พ.ศ. 1824

พ.ศ. 1318 พระเจ้าวิษณุ ประมุขของราชวงศ์ไศเลนทร์ปกครอง นครหลวงศรีวิชัย ทรงสร้างปราสาท 3 หลัง เพื่อประดิษฐานพระผู้ผจญมาร ประดิษฐานพระโพธิสัตว์ปัทมปาณีและประดิษฐานพระโพธิสัตว์วัชรปาณี นั่นก็คือ เจดีย์วัดเวียง วัดหลง และเจดีย์วัดแก้ว ที่นครไชยา

พ.ศ. 1323 พระเจ้าวิษณุ ประมุขของราชวงศ์ไศเลนทร์ เสด็จชวากลางเพื่อไปสร้างแบบแปลนและฐานรากของเจดีย์บรมพุทโธ ที่ชวากลาง เจดีย์นี้เริ่มสร้างตั้งแต่พระเจ้าวิษณุ มาแล้วเสร็จบริบูรณ์รัชกาลพระเจ้าสมรตุงคะ พ.ศ. 1360 เป็นปราสาทหินศิลปะชั้นเยี่ยมของราชวงศ์ไศเลนทร์ที่ฝากไว้ให้เป็นมรดกโลกทางศิลปะ

พ.ศ.1334 ลาวเคียง สร้าง เมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน

พ.ศ. 1345 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1345 1393) กษัตริย์แห่งอาณาจักรอีศานปุระ (เจนละน้ำ) ขึ้นครองราชย์ ได้เสด็จมาจากชวา และทำการรวบรวมพวกเจนละบกและเจนละน้ำที่เคยแตกแยกกันให้กลับมารวมกันอีก และประกาศอิสรภาพจากอำนาจครองของชวา พระองค์เป็นกษัตริย์ที่สร้างอาณาจักรขอมสมัยเมืองพระนคร โดยมีการสร้างและย้ายเมืองหลวงถึง 4 ครั้ง คือ
- เมืองอินทะปุระ เป็นราชธานี ขึ้นที่บริเวณใกล้ เมืองกำแพงจาม
- เมืองหริหราลัย หรือ ร่อลวย เป็นราชธานี
- เมืองอมเรนทรปุระ เป็นราชธานี
- เมืองมเหนทรบรรพต หรือ พนมกุเลนเป็นราชธานี

พ.ศ. 1393 พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 หรือ พระเจ้าวิษณุโลก โอรสของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ครอง อาณาจักรเมืองพระนคร สืบต่อมา ระหว่าง พ.ศ. 1393 - 1420 สมัยนี้พระองค์ได้กลับมาใช้ เมืองหริหราลัย หรือ ร่อลวย เป็นราชธานีอีกครั้ง

พ.ศ.1400 ชุมชนเชลียง (จังหวัดสุโขทัย) เติบโตเป็นบ้านเมืองบนเส้นทางการค้าภายในภูมิภาค ซึ่งตรงกับยุคทวารวดี

พ.ศ. 1420 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 หรือ พระเจ้าอิศวรโลก โอรสของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 ครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรขอมเมืองพระนคร (เมืองหริหราลัย) สืบต่อมาระหว่าง พ.ศ. 1420 - 1432

พ.ศ. 1432 พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 หรือ พระเจ้าบรมศิวโลก โอรสของ พระเจ้าอินทรมันที่ 1 ครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรขอมเมืองพระนคร (เมืองหริหราลัย) สืบต่อมา ระหว่าง พ.ศ. 1432 - 1443 พระองค์ได้สร้างเมืองยโศธรปุระ หรือ เมืองพระนครแห่งแรก ขึ้นที่เขาพนมบาเค็ง แล้วทรงย้ายเมืองหลวง เมื่อ พ.ศ. 1436 เมืองนี้อยู่ทางตอนเหนือทะเลสาปของเมืองเสียมเรียบ

พ.ศ. 1436 สร้างปราสาทพระวิหารบูชาพระอิศวร ตรงกับสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1

พ.ศ. 1443 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 หรือ พระเจ้ารุทรโลก พระโอรสของ พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรขอมเมืองพระนคร (เมืองยโศธรปุระ) สืบต่อมาระหว่าง พ.ศ. 1443 - 1456

พ.ศ. 1446 พระเจ้าชีวกะราช จากศิริธรรมนคร (กรุงตามพรลิงค์) อ้างสิทธิว่า พระราชมารดาของพระองค์เป็นพระราชธิดากษัตริย์ละโว้ พระองค์จึงมีสิทธิในราชบัลลังก์ละโว้ ในขณะที่กองทัพของ พระเจ้าตราพก แห่งหริภุญชัยกำลังทำสงครามกับกษัตริย์ละโว้ พระเจ้าชีวกะราชแห่งศิริธรรมนคร จึงยกกองทัพทั้งทางบก ทางเรือ จู่โจมเข้าทำสงครามกับทั้ง 2 กองทัพ ที่กำลังอ่อนแรงในการสู้รบ พระเข้าชีวกจึงมีชัยชนะ เข้าครองราชย์บัลลังก์นครละโว้ และทำพิธีราชาภิเษก เจ้าชายบูรพโกศลกัมโพชราช หรือ เจ้าชายกัมโพช เป็นกษัตริย์ละโว้

พ.ศ. 1447 ประกาศย้ายราชธานีศรีวิชัยมาอยู่ที่นครศรีธรรมราช จีนเรียกชื่อใหม่ว่า นคร ซัน โฟชิ

พ.ศ. 1456  พระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 หรือ พระเจ้าบรมรุทรโลก พระอนุชาของ พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ครองราชน์ที่เมืองยโศธรปุระ (อาณาจักรขอมเมืองพระนคร) สืบต่อมาระหว่าง พ.ศ. 1456 - 1468

พ.ศ. 1471 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 หรือ พระเจ้าบรมศิวบท น้องเขยของ พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรขอมเมืองพระนครระหว่าง พ.ศ. 1471 - 1485 พระองค์ทรงนับถือพระศิวะ และได้สร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่ เมืองโฉกการยกยาร์ หรือ เกาะแกร์ พระองค์ทรงทำการกวาดล้าง ราชวงศ์ไศเลนทร์ เจ้าชายและเจ้าหญิงขอมจึงต่างหนีราชภัยของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 มีราชธิดาของ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 พระองค์หนึ่ง หลบหนีลี้ภัยไปหาพระเชษฐา ชื่อ พระร่วง-ละโว้ ที่นครละโว้ ต่อมาพระนางอภิเษกกับเจ้าชายเชื้อสายพระเจ้าชีวก มีพระราชบุตรอันยิ่งใหญ่ ในตำนานพระแก้วมรกต คือ พระเจ้าอาทิตย์ราช หรือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1

พ.ศ. 1485 พระเจ้ากรรษวรมันที่ 2 หรือ พระเจ้าพรหมโลก พระโอรสของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรขอมเมืองพระนคร (เมืองโฉกการยกยาร์) สืบต่อมาระหว่าง พ.ศ 1485 - 1487 ยุคนี้ได้สร้างศิลปะขอมแบบเกาะแกร์ขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1469 - 1490

พ.ศ. 1487 พระเจ้าราเชนทรวรมัน หรือ พระเจ้าศิวโลก พระนัดดาของ พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ของ อาณาจักรขอมเมืองพระนคร ระหว่าง พ.ศ. 1487 - 1511 พระองค์ได้ย้ายราชธานี จาก เมืองโฉกการยกยาร์ กลับมาที่ เมืองยโศธรปุระ หรือ เมืองพระนครแห่งแรก และได้มีการสร้างศิลปขอมแบบแปรรูปขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1490 - 1510 เมืองยโศธรปุระ ราชธานีเก่าแก่แห่งนี้ ได้มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาหลายพระองค์ได้แก่

พ.ศ. 1500 เป็นต้นมา มีกลุ่มรัฐใหญ่อยู่สองฟากแม่น้ำเจ้าพระยา คือ รัฐละโว้ (ลพบุรี) ซึ่งเกี่ยวดองกับรัฐหริภุญชัย (ลำพูน) อยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และ รัฐสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) อยู่ฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และทั้ง 2 รัฐได้มีการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ โดยใช้ศูนย์กลางอยู่ที่ อยุธยา เท่าที่พบหลักฐานมีการรวมตัวอย่างน้อย 2 ครั้ง ได้แก่
- ก่อน พ.ศ. 1839 (ก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่) พบหลักฐานอยู่ในเอกสารของโจวต้า กวาน ทูตจีนที่เข้าไปรัฐเจินละ สมัยเมืองพระนครหลวง (หรือนครธม)
- หลัง พ.ศ. 1893 เป็นที่รับรู้ทั่วไปแล้ว แต่ยังไม่ถาวร เพราะหลังแผ่นดินขุนหลวงพะงั่ว รัฐสุพรรณภูมิก็แยกเป็นเอกเทศ

พ.ศ. 1503 กษัตริย์ ซัน โฟชิ องค์หนึ่งมีพระนามตามสำเนียงจีนว่า ชิลิหุตะลิเชียลิตัน แต่งราชทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน

พ.ศ. 1504 มีกษัตริย์องค์ใหม่พระนาม เช ลิ วูเย ส่งราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการจักรพรรดิจีน เพื่อรับรองความเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ ราชทูตรายงานว่า แคว้นซัน โฟชิ ของพวกเขา มีชื่อเรียกกันว่าประเทศเสียนหลิว ประเทศเสียนหลิว ก็คือ เสียมหลอ หรือเสี้ยนหลอ เป็นชื่อที่จดหมายเหตุจีนใช้เรียกประเทศสยามหรือประเทศไทย ในปัจจุบันนี้

พ.ศ. 1511 พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 หรือ พระบรมวีรโลก ซึ่งเป็นพระนัดดาของ พระเจ้าราเชนทรวรมัน ครองราชย์เป็นกษัตริย์ของ อาณาจักรขอมเมืองพระนคร (เมืองยโศธรปุระ) พ.ศ. 1511 - 1544 สมัยนี้สร้างศิลปขอมแบบบันท้ายศรี พ.ศ 1510 - 1550

พ.ศ. 1544 พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระนัดดาของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ของ อาณาจักรขอมเมืองพระนคร (เมืองยโศธรปุระ) สร้างศิลปขอมแบบคลังขึ้น พ.ศ. 1510 - 1560

พ.ศ. 1545 พระเจ้าชัยวีรวรมัน ครองราชย์เป็นกษัตริย์ของ อาณาจักรขอมเมืองพระนคร (เมืองยโศธรปุระ) พ.ศ. 1545 - 1553

พ.ศ. 1545 พระเจ้าชัยสุริยวรมันที่ 1 ครองราชย์เป็นกษัตริย์ของ อาณาจักรขอมเมืองพระนคร (เมืองยโศธรปุระ) พ.ศ. 1545 - 1593 เดิมนั้นพระองค์ทรงประทับอยู่ที่เขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงเร็ก ครั้นเมื่อได้ชิงอำนาจจากพระเจ้าชัยวีรวรมันชนะแล้วได้เสด็จมาครองราชย์ที่เมืองพระนคร พ.ศ. 1553 พระองค์ได้ทำการสถาปนาราชวงศ์ขึ้นใหม่ และสร้างพระราชวังหลวงที่เมืองพระนครและปราสาทพิมานอากาศ ปราสาทเกลียง เป็นยุคที่มีการสร้างศิลปแบบปาปวนขึ้นในระหว่าง พ.ศ. 1560 - 1630

พ.ศ. 1568 อาณาจักรตามพรลิงค์ (ฝรั่งเรียก ลิคอร์ เขียนว่า Ligor) ที่ตั้งอยู่บริเวณ ตะกั่วป่า นครศรีธรรมราช ถูก อาณาจักรโจฬะ (อินเดียใต้) ยกทัพเข้ายึด

พ.ศ. 1593 มีจารึกจามที่วิหารโปนาการ์ สมัยพระเจ้าชัยปรเมศวรวรมะเทวะ (กษัตริย์จามปา) กล่าวว่าพระองค์บูระ พระรูปปฏิมาเจ้าแม่ภควดี ที่เทวสถานนี้ อุทิศ "ทาส" ถวายไว้รับใช้พระจำนวน ๕๕ คน ในจำนวนนี้มีทาส ชาวจาม พม่า จีน พุกาม และ สยาม ข้อความนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือ อาณาจักรจามปา ของ นายมาสเปโร (Gorges Maspero. Le Royaum de ChamPa, 1914, p185. นายมาสเปโร มิได้ให้รูปคำสยามในจารึกว่า เขียนเป็นอักษรจามอย่างไร แต่แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสเลยว่า Siamois ซึ่งหมายถึงคนไทยในเมืองไทยเดี๋ยวนี้

พ.ศ. 1599 พบหลักฐานว่า ขอม ไม่ใช่ เขมร จาก พงศาวดารกรุงสุธรรมวดี (สะเทิม) หรือ “สุธรรมวดีราชวงศ์” ของมอญ กล่าวว่า “กรอม” (ขอม) ยกกองทัพจากกรุง “ละโว้-อโยธยา” ไปตีกรุงสุธรรมวดี

พ.ศ. 1639 ขุนจอมธรรม โอรสองค์ที่ 2 ของ ขุนเงิน กษัตริย์องค์ที่ 11 แห่งนครหิรัญเงินยางเชียงแสน (ขุนชิน หรือ ขุนชื่น พระเชษฐาครอง หิรัญนครเงินยาง สืบต่อพระบิดา) ได้ทำการบูรณะเมืองร้างมาแต่สมัยขอมมีอำนาจเสร็จและสถาปนาเมืองเรียกว่า เมืองภูกามยาว (พะเยา)

พ.ศ.1642 พ่อขุนจอมธรรม กษัตริย์อาณาจักรภูกามยาว ได้โอรสองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า ขุนเจียง หรือ ขุนเจือง

พ.ศ.1644 พ่อขุนจอมธรรม  กษัตริย์อาณาจักรภูกามยาว ได้โอรสอีกองค์หนึ่ง กับ พระนางเทวี ทรงนามว่า ขุนจอม หรือ ขุนซอง

พ.ศ. 1651 จารึกปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นจารึกก่อนปราสาทนครวัด ในจารึกที่พิมายระบุชื่อข้าพระไว้จำนวนหนึ่ง ในบรรดาชื่อเหล่านั้น มีอยู่คนหนึ่งเป็นหญิง ชื่อ กน สยำ (อ่านว่า กันเสียม หรือ กันเซียม) ชาวสยามเหมือนกัน

พ.ศ. 1655 ปรากฏภาพสลักนูนต่ำทีระเบียงปราสาทนครวัด สลักว่า “เนะ สยำ กุก” คู่กับนักรบชาวละโว้ มีอักษรจารึกไว้ชัดเจนว่า “พลละโว้” เป็นหลักฐานชี้ชัดว่าเสียม (สยาม) ยกกองทัพมาช่วย พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ร่วมกับกองทัพละโว้เพื่อไปรบกับอาณาจักรจามปา

พ.ศ. 1666 ขุนเจือง โอรสของ พ่อขุนจอมธรรม ครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรภูกามยาว สืบต่อมา

พ.ศ. 1672 ขุนเจือง ช่วยเมืองหิรัญเงินยางปราบทัพแกว (ญวน) ได้สำเร็จ ขุนชิน (ลุงของขุนเจือง) จึงยกเมืองหิรัญเงินยางให้ครองพร้อมธิดา 2 องค์ ส่วน เมืองพะเยา นั้น ขุนเจือง มอบให้ ขุนจอง ผู้น้องครอบครอง (สืบเชื้อสายมาจนถึง พ่อขุนงำเมือง)
ขุนเจืองมีโอรสกับธิดา 2 องค์นี้ 5 องค์ คือ
ที่ประสูตรจาก นางอามแพงจันผง คือ
- ขุนลาวเงินเรือง ต่อมาให้ครอง เมืองหิรัญนครเงินยาง
- ขุนลาวเจือง ไปครอง เมืองแกวหลวง
- ขุนลาวบาว ไปครอง เมืองจันทบุรี
ส่วนที่ประสูตรจาก นางโอคาแพงเมือง คือ
- ขุนคำร้อย ให้ไปครอง เมืองไชยนารายณ์ เมืองมูล
- เจ้าสร้อยเบี้ย ผู้น้องให้เป็นอุปราชครอง เมืองเชียงเรือง

พ.ศ. 1688 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 กษัตริย์อาณาจักรเมืองพระนคร ผู้สร้างนครวัด เข้ายึดครองเมืองหลวงของ อาณาจักรจามปา ได้ ต่อมา ชาวจามปารวมตัวกันติด จัดกองทัพยกมาตีเอาเมืองเมืองหลวงคืนได้ พ.ศ. 1692

พ.ศ. 1677 ขุนเจือง กษัตริย์อาณาจักรหิรัญเงินยาง ยกทัพไปปราบ เมืองลานช้าง และ เมืองแกว ได้รับชัยชนะจึงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็น พระยาจักราช ครอง เมืองแกว ทรงมีโอรสกับ นางอู่แก้ว ธิดาพระยาแกว 3 องค์ คือ
- ท้าวอ้ายผาเรือง ต่อมาได้ครอง เมืองแกวประกัน
- ท้าวยี่คำหาว ต่อมาได้ครอง เมืองลานช้าง
- ท้าวสามชุมแสง ต่อมาได้ครอง เมืองนันทบุรี (เมืองน่าน)

พ.ศ. 1700 โดยประมาณ พ่อขุนศรีนาวนำถุม บิดาพ่อขุนผาเมือง สถาปนารัฐ “ศรีสัชนาลัยสุโขทัย” (ชื่อศรีสัชนาลัย นำหน้าอยู่ก่อนชื่อสุโขทัย มีในจารึกวัดศรีชุม ยุคสุโขทัย)

พ.ศ. 1720 กองทัพเรือ อาณาจักรจามปา ยกพลขึ้นบกเข้าโจมตีและปล้นสะดม เผาทำลายเมืองพระนครเมืองหลวงของ อาณาจักรเมืองพระนคร เสียหายยับเยิน จนอำนาจ อาณาจักรขอมเมืองพระนคร เสื่อมไประยะหนึ่ง

พ.ศ. 1724 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่ง อาณาจักรเมืองพระนคร (ครองราชย์ พ.ศ. 1724-1763) ได้ยกทัพเข้ารุกราน อาณาจักรจามปา และผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอมเมืองพระนคร โดยมีภาพสลักยุทธนาวีปราบกองทัพจามที่ปรากฏอยู่ ณ ปราสาทนครธม

พ.ศ. 1773 พระเจ้าธรรมราชาจันทรภานุ ครองราชย์เป็นกษัตริย์ของ อาณาจักรตามพรลิงค์ พระองค์ติดต่อมีสัมพันธ์ใกล้ชิด กับ อาณาจักรลังกา - อาณาจักรตามพรลิงค์ (ฝรั่งเรียก ลิคอร์ เขียนว่า Ligor) ที่ตั้งอยู่บริเวณ ตะกั่วป่า นครศรีธรรมราช

พ.ศ. 1781 พ่อขุนผาเมือง แต่งตั้ง พ่อขุนบางกลางหาว เป็นกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย โดยมีอาณาเขตดังนี้
- ทางเหนือ มีเมืองอุตรดิตถ์ (จ. อุตรดิตถ์) หรือบางช่วงเวลาอาจถึงเมืองแพร่ (จ. แพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด
- ทางใต้ ถึงเมืองพระบาง (จ. นครสวรรค์) เป็นสุดเขตแดนด้านใต้
- ทางตะวันตก มีเมืองฉอด (อยู่ใน อ. แม่สอด จ. ตาก) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังเมืองมอญในพม่า
- ทางตะวันออก ถึงเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขง ในเขตภาคอีสานตอนเหนือ

พ.ศ. 1801 พ่อขุนงำเมือง ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ อาณาจักรภูกามยาว

พ.ศ. 1802 พญามังราย ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติที่ เมืองหิรัญนครเงินยาง อาณาจักรโยนก เมื่อมีพระชนม์ได้ 20 ปี พระองค์ทรงรวบรวมหัวเมืองน้อย-ใหญ่ทางด้านเหนือมาไว้ในพระราชอำนาจ โดยอ้างสิทธิว่า พระองค์สืบเชื้อสายโดยตรงจากปู่เจ้าลาวจก และพระองค์ได้รับ น้ำมุรธาภิเษก เครื่องราชาภิเษก (ดาบไชย หอกและมีดสรีกัญไชย) ที่เป็นมรดกมาจากปู่เจ้าลาวจก ส่วนเจ้าเมืองอื่นๆ นั้น แม้จะเป็นญาติพี่น้องกันแต่ก็ไม่ใช่สายตรงและจะไม่มีโอกาสผ่าน พิธีมุรธาภิเษก และ ได้รับเครื่องราชาภิเษก เหมือนพระองค์ เมืองใดไม่ยอมรับข้ออ้างนี้พระองค์ก็จะยกทัพไปปราบ เมืองที่เข้ามาอยู่ในอำนาจของพระองค์ช่วงนั้นได้แก่ เมืองมอบ เมืองไร เมืองเชียงคำ เมืองเชียงช้าง

พ.ศ. 1803 กุบไลข่าน ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำมองโกล และรุกรานอันนัม ทำให้ อาณาจักรจามปา ไม่ถูกรุกรานจาก อาณาจักรอันนัม เป็นการชั่วคราว

พ.ศ. 1813 อาณาจักรตามพรลิงค์ ทำสงครามกับ อาณาจักรลังกา และประสบความพ่ายแพ้ - อาณาจักรตามพรลิงค์ (ฝรั่งเรียก ลิคอร์ เขียนว่า Ligor) ที่ตั้งอยู่บริเวณ ตะกั่วป่า นครศรีธรรมราช

พ.ศ. 1823 มองโกลได้ส่งแม่ทัพมาปกครอง อาณาจักรจามปา และ อาณาจักรอันนัม แต่ไม่นานนัก อาณาจักรอันนัม ก็ไล่ มองโกล ออกไป ชาวจามปา ก็สังหารแม่ทัพชาวมองโกล

พ.ศ. 1824 พญามังรายมหาราชผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ยกกองทัพเข้ายึด เมืองหริภุญชัย จากพญายีบา ได้ อาณาจักรหริภุญชัย จึงสิ้นสุดลง

พ.ศ. 1835 สถาปนา อาณาจักรล้านนา โดย พญามังราย ยึดครอง แคว้นหริภุญชัย ที่ พญายี่บา เป็นกษัตริย์ครองอยู่ได้ แล้วผนวกเข้ากับ อาณาจักรโยนก ของพระองค์

พ.ศ. 1839 โจวต้ากวน ร่วมเดินทางกับคณะราชทูตของราชวงศ์หยวนไปอาณาจักรขอมเมืองพระนคร (นครธม) ตามหนังสือจูฟานจื้อ บันทึกอาณาเขตของอาณาจักรและอาณาจักรที่ติดต่อกัน ว่า
- ดินแดนนี้กว้าง 7,000 ลี้ (1 ลี้ เท่ากับ 555.55 เมตร)
- ทิศเหนือของประเทศนี้ใช้เวลาเดินทาง 15 วัน ถึง จ้านเฉิง (จามปา)
- ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ใช้เวลาเดินทางครึ่งเดือนถึง เสียมหลอ
- ทิศใต้ใช้เวลาเดินทาง 10 วันถึง พานหยู
- ทิศตะวันออกเป็นมหาสมุทร

พ.ศ. 1861 พ่อขุนคำแดง ราชโอรส พ่อขุนงำเมือง ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรภูกามยาว สืบต่อมา เมื่อสิ้น พ่อขุนคำแดง ก็มี พ่อขุนคำรือ ผู้เป็นอนุชาครองเมืองสืบต่อมา

พ.ศ. 1893 พระเจ้าอู่ทอง ตั้งกรุงศรีอยุธยาศรีรามเทพนคร

พ.ศ. 1896 พระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี (พ.ศ. 1896 - 1916) พระราชโอรสของ ท้าวผีฟ้า และเป็นพระราชนัดดาของ พระยาสุวรรณคำผง  พระยาฟ้างุ้ม นำกำลังเข้าสู้รบเอาชนะ พระยาฟ้าคำเฮียว (อา) ที่ครองราชย์สืบต่อจาก พระยาสุวรรณคำผง พระยาฟ้างุ้ม จึงเสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนา อาณาจักรศรีสตนาคนหุตล้านช้าง มีอำนาจเหนือบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง โดยได้ แคว้นศรีโคตรบูรณ์ เป็นเมืองลูกหลวง

พ.ศ. 1903 กษัตริย์อาณาจักรจามปา ได้เจริญสัมพันธ์ไมตรีกับ จีน และสามารถรบชนะ อาณาจักรไดเวียต บุกจนถึง เมืองฮานอย แต่ระหว่างทาง กษัตริย์จามปา ถูกทหารลอบปลงพระชนม์ นายทหารผู้นั้นได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ โดยยกเมืองหลายเมืองให้อาณาจักรไดเวียต

พ.ศ. 1950 เจ้านครอินทร์ จากอาณาจักรสุพรรณบุรี (โดยการสนับสนุนของจีน) ยกกองทัพเข้ายึดอยุธยา เนรเทศ สมเด็จพระรามราชาธิราช กษัตรย์อยุธยาราชวงศ์ละโว้ ไปอยู่ปทาคูจาม (ปัจจุบันอยู่ด้านทิศใต้ นอกเกาะเมืองอยุธยา) แล้วขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระอินทราชา กษัตริย์อาณาจักรอยุธยา

พ.ศ. 1984 อาณาจักรจามปา เกิดสงครามกลางเมือง อาณาจักรอันนัม ถือโอกาสยกทัพเข้ามายึดเมืองหลวงและ อาณาจักรจามปา ไว้ในอำนาจได้ ยืดอาณาเขตลงไปถึงใต้บริเวณ Cap Varella แต่ราชสำนักจามปา ก็ยังปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์

พ.ศ. 2069 ราชวงศ์ตีมูร์ ก่อตั้ง อาณาจักรโมกุล ซึ่งรุ่งเรืองที่สุดช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 22 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในอนุทวีปอินเดีย ตั้งแต่อ่าวเบงกอลทางตะวันออกไปจนถึง Balochistan ในทางตะวันตก และจากแคว้นแคชเมียร์ทางเหนือไปจนถึง Kaveri ในทางใต้ มีประชากรประมาณ 110-150 ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 3.2 ล้านตารางกิโลเมตร

พ.ศ. 2101 อาณาจักรล้านนา (ราชวงศ์มังราย) ตกเป็นเมืองขึ้นของ พม่า ใน สมัยพระเจ้าเมกุฏ ครองราชย์ที่ เมืองเชียงใหม่ และ พญากลม เป็น เจ้าเมืองเชียงแสน ทั้ง 2 เมืองได้เสียให้แก่ บุเรงนอง เจ้ากรุงหงสาวดี อาณาจักรล้านนา จึงได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าตั้งแต่นั้นมา โดยสลับกับบางครั้งเป็นอิสระ บางครั้งก็ตกอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา รวมเป็นระยะเวลาถึง 200 ปี

พ.ศ. 2204 พระยาเมืองยี่ กษัตริย์อาณาจักรภูกามยาว ผู้สืบเชื้อสายองค์ที่ 9 มาจาก พ่อขุนคำรือ (อนุชาพ่อขุนงำเมือง) สร้าง พระเจ้าตนหลวง ขึ้นที่ วัดศรีโคมคำ แต่พระยาเมืองยี่ ถึงแก่ทิวงคตไปก่อน

พ.ศ. 2213 สร้าง พระเจ้าตนหลวง เสร็จ ในสมัย พระยาเมืองตู๋ กษัตริย์อาณาจักรภูกามยาว ช่วงนี้พม่าเข้ามาเป็นใหญ่ปกครองล้านนาแล้ว

พ.ศ. 2014 กษัตริย์เลถั่นตอง แห่งอาณาจักรไดเวียด ส่งทัพเข้าตี เมืองวิชัย เมืองหลวงของอาณาจักรจามปา ได้สำเร็จ

พ.ศ. 2375 สมเด็จพระจักรพรรดิมิงห์หม่าง แห่ง อาณาจักรไดเวียด ได้ผนวกดินแดนส่วนที่เหลือของ อาณาจักรจามปา เข้าเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนาม และกลืนชาวจามจนกลายเป็นชนกลุ่มน้อย

1 ความคิดเห็น: