- ทับหลังหินทรายแกะสลักยุคไพรกะเม็ง พ.ศ. 1180 - 1250 สมัยเจนละ ยุคก่อนสร้างนครวัด นครธมในเขมร
- ทับหลังยุคปาปวน พ.ศ. 1560 - 1630
- ศิลาจารึกขอมสมัยพุทธศตวรรษที่ 12 นับเป็นหลักฐานศิลปขอมโบราณที่เก่าแก่ที่สุด
- จารึกวัดทองทั่ว ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ เป็นจารึกที่พบที่ วัดทองทั่ว-ไชยชุมพล ตำบลพะเนียด อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี (จันทบุรี เดิมชื่อ จันทบูน หรือ จันทรบูรณ์ มีข้อสันนิษฐานว่า จันทบูรณ์น่าจะเป็นคำที่มาจากภาษาเขมรว่า เจือนตะโบง แปลว่า ชั้นที่อยู่ทางทิศใต้ หมายถึงเมืองที่อยู่ทิศใต้ของอาณาจักร) จารึกเป็นอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต แปลได้ความว่า...
“พระเจ้าศรีอีศานวรมัน ได้พระราชทานแท่งศิลาที่สกัดด้วยเหล็ก เป็นอักษรพร้อมคนงานที่ต้องโทษ 42 คน โค 231 ตัว กระบือ 245 ตัว”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น