พุทธศาสนา จากอินเดียโบราณ เผยแพร่เข้ามาใน ดินแดนสุวรรณภูมิ โดย คณะสมณทูต จาก อินเดียโบราณ ได้เดินทางโดยทางเรือเข้ามาประกาศศาสนา และ มีการสร้าง พระบรมธาตุ ที่ เมืองตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) สร้าง จุลประโทณพระประโทณเจดีย์ พระปฐมเจดีย์ ที่ เมืองนครปฐม (เมืองศิริชัย-เมืองนครไชยศรี)
หลังจากที่ พระเจ้าอโศกมหาราช (เหลนของพระเจ้าพิมพิสาร) แห่งราชวงศ์โมริยะ ของ อินเดียโบราณ ได้ทรงทำสงครามกับพวกลิงค์ และครอบครองดินแดนในอินเดียได้อย่างกว้างขวาง พระเจ้าอโศก ทรงมีพระราชธิดาชื่อ พระนางสังฆมิตตา ต่อมาได้บวชเป็นพระภิกษุณี
พระนางสังฆมิตตา (พระภิกษุณี) ขอตอนกิ่งมหาโพธิ์จากพุทธคยา นำไปถวาย พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ผู้ครองเมืองลังกา (พ.ศ. 293 -353) แล้วปลูกไว้ที่ มหาเมฆนาราม กรุงอนุราปุระ เมืองหลวงของลังกา (โพธิ์ลังกา) ต้นโพธิที่กรุงอนุราธปุระต้นนี้ ภายหลังได้มีการนำหน่อและเมล็ดพันธุ์มาปลูกใน อาณาจักสยาม หลายครั้ง เช่น วัดพระศรีมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช ดงศรีมหาโพธิ์ที่เมืองปราจีนบุรี วัดพระปฐมเจดีย์ เมืองนครปฐม รวมที่วัดสระเกศ วัดสุทัศน์เทพวราราม และ วัดมหาธาตุกรุงเทพฯ ในสมัยหลังด้วย
พ.ศ. 236 พระจ้าอโศกมหาราช มีพระราชประสงค์ที่จะประกาศพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายไปยังอาณาจักรต่างๆ จึงโปรดให้แต่งสมณทูตออกประกาศคำสั่งพุทธศาสนาตามอาณาจักรต่างๆ ใน ดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนอื่นๆ ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า
พระสมณฑูตของพระเจ้าอโศก เข้าไปเผยแพร่และประกาศ พุทธศาสนา ไปด้านตะวันตกถึง แคว้นไซเรีย อียิปต์ และ มาชิโดเนียในยุโรป ส่วนอาณาจักรที่ติดต่อกัน พระเจ้าอโศกมหาราช ได้อาราธนา พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ให้คัดเลือกพระอรหันต์เพื่อส่งไปประกาศพุทธศาสนา โดยนำเอาชื่ออาณาจักร และ ชื่อของพระอรหันต์ ที่ส่งไปประกาศพุทธศาสนาในครั้งนั้น นำมาเรียงร้อยเป็นคาถา (ร้อยกรองอินเดีย) อยู่ใน คัมภีร์มหาวงศ์ ดังนี้
เถโร โมคคลิปุตโตโส ชินสาสนโชตโก
นิฏฐาเปตวาน สงคีตี เปกขมาโน อนาคต
สาสนสส ปติฏฐาน ปจจนเตส แวกขิย
เปเสสิ กตติเก มาเส เต เต เถเร ตหึ ตหิ
เถร กสมิรคนธาร มชฌนติกมเปสยิ
อเปสยิ มหาเทว เถรมหิสมณฑล
วนวาสิ อเปเสสิ เถร รกชิตนามก
ตถา ปรนตก โยน ธมมรกชตนามก
มหารฎฐ มหาธมม รกชิตตเถรนามก
มหารกขิตเถรนต โยนโลกมเปสยิ
เปเสสิ มชฌิม เถร หิมวนตปปเทสก
สวณณภูมิ เถเร เทว โสณ อุตตาเมว จ
มหามหินทเถร ต เถร อิทิยวุตติย
สมพล ภททสาลญจ สเก สทธิวิหาริเก
ลงกาทีเป มนญญมหิ มนญญชินสาสน
ปติฏฐเปถ ตุเมหติ ปญจ เถเร อเปสยิ
นายริส เดวิดส์ ได้ตรวจสอบภูมิประเทศของเมืองที่ปรากฎในร้อยกรอง แล้วอธิบายถึงชื่อเมืองและผู้เผยแพร่พุทธศาสนาไว้ว่า
- พระมัชฌันติก ไป ประเทศกัสมิระ และ คันธาระ คือ ดินแดนที่เรียกว่า แคชเมีย และ อัฟกานิสถาน ทุกวันนี้ อยู่ปลายแดนและต่อแดนกับอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ
- พระมหาเทว ไป มหีสประเทศ คือ อินเดียด้านใต้ (ใต้แม่น้ำโคธาวารี) อยู่ในอาณาเขตของ ไนซัมไฮเดอรบัด ทุกวันนี้
- พระรักขิต ไป วนาวาสีประเทศ อาจารย์ ริส เดวิดส์ เข้าใจว่า บริเวณนี้อยู่ในทะเลทราย แคว้นราชปุตตนะ ใน อินเดีย
- พระธรรมรักขิต ไป อปรัตกประเทศ เข้าใจว่าเป็นชายแดน ปัญจาบ ด้านตะวันตก
- พระมหาธรรมรักขิต ไป มหารัฐประเทศ อยู่ใน แคว้นมหารัฐ แถบยอดน้ำโคธาวารี อยู่ห่าง เมืองบอมเบย์ 150 ไมล์ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
- พระธรรมรักขิต ไป โยนโลกประเทศ คือ บริเวณที่เรียกว่า แบกเตรีย เดี๋ยวนี้ อยู่ใน ประเทศอิหร่าน (เปอร์เซีย)
- พระมัชฌิม ไป หิมวันตประเทศ คือ ตามเมืองต่างๆ ที่อยู่ใน หมู่เกาะหิมาลัย
- พระโสณะ และ พระอุตตระ ไป สุวรรณภูมิประเทศ บริเวณ พม่า ไทย ตลอดแหลมลายู (คัมภีร์มหาวงศ์ ของ ลังกา ระบุว่า สุวรรณภูมิประเทศ อยู่ห่างจาก ลังกา 700 โยชน์
- พระมหินทเถรราชบุตรพระเจ้าอโศก ไป ลังกาทวีป
ในคัมภีร์มหาวงศ์ของลังกา เขียนขึ้นราว พ.ศ. 1043 โดยอ้างอิงมาจาก คัมภีร์อรรถกถามหาวงศ์ ที่ได้สูญหายไปแล้วนั้นได้มีบันทึกไว้ว่า พุทธศาสนา ได้เผยแพร่เข้ามายัง สุวรรณภูมิ เมื่อราว พ.ศ. 236 สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีอำนาจสูงสุดและแผ่ไพศาลไปทั่วชมพูทวีป ตั้งเมืองหลวงที่กรุงปาฏลีบุตร ได้ทรงอุปถัมป์ทำสังคายนา ครั้งที่ 3 และส่งพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิไปประกาศศาสนา นอกจากจะส่งไปทั่วทุกรัฐในอินเดียแล้ว ยังส่งไปต่างประเทศอีกด้วย เช่น ลังกา และ สวรรณภูมิ เป็นต้น
ใน คัมภีร์มหาวงศ์ ยังกล่าวอีกว่า พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่ง พระโสณเถระ กับ พระอุตตรเถระ มาประกอบพระศาสนาที่ ดินแดนสุวรรณภูมิ
บริเวณจังหวัดนครปฐมนั้น ได้มีการสำรวจและค้นพบ ธรรมจักรศิลาทรายพระพุทธรูปอินเดียสมัยอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7) พระพุทธรูปศิลาประทับนั่งห้อยพระบาทขนาดใหญ่ และ ศิลปวัตถุสมัยทวาราวดี จำนวนมาก เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า เมืองนครชัยศรี และ เมืองนครปฐม นั้นเป็นเมืองสำคัญในสมัยโบราณ หรือ เมืองหลวงอีกแห่งหนึ่งของ อาณาจักรทวาราวดีโบราณ ปรากฏว่ามี พระปฐมเจดีย์ ที่เป็นหลักฐานที่แสดงว่า พุทธศาสนา ประกาศเผยแพร่ออกจากสถานที่สำคัญแห่งนี้
ช่วง พุทธศตวรรษที่ 7-8 มีชาว อินเดีย อาหรับ กรีก และ โรมัน แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เดินเรือเข้ามาค้าขายยังเมืองต่างๆ ในดินแดนแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเอกสารของ กรีก โรมัน อาหรับ และ อินเดีย เรียกดินแดนแถบนี้ว่า แหลมทอง หรือ สุวรรณภูมิ ในเอกสารของจีน ระบุว่า ดินแดนสุวรรณภูม มีรัฐสำคัญในบริเวณนี้ คือ
- ฟูนัน (อาณาจักรพนม)
- กิมหลิน (อาณาจักรสุวรรณบุรี)
- หลั่งยะสิว (อาณาจักรนครชัยศรี)
- พันพัน (แหล่งโบราณบ้านดอน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
- ลังเกียสุ (อาณาจักรลังกาสุกะ ต่อมาคือ ปัตตานี)
พ.ศ. 966 อาณาจักรฟูนัน รับพระพุทธศาสนา โดย พระภิกษุคุณวรมัน หัวหน้าคณะสงฆ์ ที่เดินทางมาจาก แคว้นคันธาระ-กาปิศะ ที่จะมุ่งหน้าไปยัง สุวรรณทวีป (หมู่เกาะชวาในแถบอินโดนีเซีย) แต่ได้มายังปากแม่น้ำโขงและประกาศพุทธศาสนาที่ อาณาจักรฟูนัน ก่อนที่จะไป สุวรรณทวีป พบจารึกของ กษัตริย์ฟูนัน ที่จารึกถึง พระคุณวรมัน เป็นอักษรสันสกฤต (อักษรคฤนห์) สมัยราชวงศ์ปัลลวะ
พ.ศ. 1068 พระโพธิธรรม ที่จีน เรียกว่า ปรมาจารย์ตั๊กม้อ เป็นพระโอรสของ แคว้นตักคันธาระ น่าจะเป็นเชื้อสายราชวงศ์กุษาณ 7 ได้จารึกเดินทางขึ้นมาบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง เผยแพร่ศาสนาพุทธอยู่ 3 ปี ก่อนที่ พระโพธิธรรม จะเดินทางขึ้นไปเผยแพร่ในดินแดนจีน
หลังจากที่พระโพธิธรรม จารึกประกาศพุทธศาสนาอยู่ในจีน 30 ปี อาณาจักรฟูนันก็ล่มสลาย (ประมาณ พ.ศ. 1100) พร้อมกับบริเวณแหลมอินโดจีน และทะเลจีนใต้ได้เกิดมีอาณาจักรต่างๆ มากมาย ได้แก่อาณาจักรทวาราวดี อาณาจักรเจนละ อาณาจักจัมปา อาณาจักรกามลังกา (มอญ) อาณาจักรศรีเกษตร (พม่าตอนปลาย) อาณาจักรศรีโพธิ์ (ภาคใต้ของไทย) และ อาณาจักรของสุวรรณทวีป (หมู่เกาะชวา)
การสิ้นสุด ราชวงศ์กุษาณ ในอินเดีนตอนใต้ นั้นหรือหลังจากที่ พระโพธิธรรม ได้เดินทางเข้ามาแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีพะสงฆ์ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิอีก
ปลายพุทธศตวรรษที่ 12 พระภิกษุฟาเหียน (พระถังซัมจั่ง) จากจีนได้ออกเดินทางเพื่อรวบรวมคัมภีร์พุทธศาสนาที่อยู่ในอินเดีย (พ.ศ. 1172 - 1188) ได้มี พระธรรมปาละ (จีน เรียกว่า กิมกังกี่) จากดินแดนราชวงศ์ปัลลวะ (อินเดีย) นำคณะสงฆ์เดินทางมาเผยแพร่พุทธศาสนาไปทั่วทะเลจีนตอนใต้ พบบันทึกว่า พระธรรมปาละ ได้เดินทางไป จีน เมื่อ พ.ศ. 1284 และ พ.ศ. 1289 ซึ่งเชื่อว่า พระธรรมปาละ น่าจะมรณภาพทางดินดินแดนทางเหนือ
ขณะที่ ราชวงศ์ปัลลวะ กำลังจะเสื่อมลง ได้มี พระวัชรโพธิ์ นำคณะสงฆ์เดินทางจาก อินเดียใต้ เข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาในดินแดน สุวรณภูมิ และ สุวรรณทวีป ตั้งแต่ พ.ศ. 1260 - 1284 แล้วได้เดินทางไปเผยแพร่พุทธศาสนาในจีนต่อไป
ในครั้งนั้น พระวัชรโพธิ ได้อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานไว้ที่ พระธาตุดอยตุง ในสมัยกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งจามเทวีวงศ์ หลังจากที่ พระวัชรโพธิ ได้เดินทางจาริกไป จีน แล้วประมาณ 10 ปี ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งที่จีนเรียกว่า กิมเกียวก๊ก เป็นอดีตราชวงศ์ของชาวสยาม ได้เดินทางจาริกตามไป จีน และสร้าง ตำนานพนะกษิติครรภ หรือ ที่จีนเรียกว่า หลวงจีนตี้จัง ไว้ที่ ภูเขาเกาฮั่วซัว มีสาระเนื้อหาเช่นเดียวกับกับเรื่องของ พระมาลัย ที่แต่งตั้งขึ้นในไทย
ในสิงหลทวีป (ศรีลังกา) มีสำนักของพุทธศาสนาอยู่ 2 สำนัก คือ สำนักมหาวิหาร กับ สำนักอภัยวิหาร สำนักอภัยวิหาร เป็นสำนักที่มีความสำพันธ์กับ นิกายเถรวาทฝ่ายเหนือ ที่ใช้ภาษาสันสฤต ของพุทธศาสนานิกายวัชรยาน แต่เมื่อพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท จาก สิงหลทวีป (ศรีลังกา) ซึ่งใช้ภาษาบาลีเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงเป็นเหตุให้คัมภีร์พุทธศาสนาที่เคยเป็นภาษาสันสกฤตของ นิกายสรรวาสติกวาท ที่มีมาตั้งแต่แรกนั้น ได้มีการใช้ภาษาบาลีมาคัดลอกแทนในสมัยอยุธยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น