พ.ศ. 880 สงครามกับ จีน เพื่อแย่งชิง เมืองเชนาน กองทัพจามปาได้ตีไปถึงแคว้นตังเกี๋ย
พ.ศ. 989 กองทัพจีน ยกทัพมาตีราชธานีวิชัย (เมืองบิญดิ่ญในปัจจุบัน) ได้สำเร็จ จึงตกเป็นประเทศราชของจีน ช่วงนี้มีชาวจีน ชื่อ หม่าตวนหลิน เข้ามาบันทึกเรื่องชาวหลินอี้ (ชาวจาม)
พุทธศตวรรษที่ 12 พระนามของกษัตริย์จามปาจะใช้เป็นภาษาสันสกฤตเพราะได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย ในปลายศตวรรษ อาณาจักรประสบความวุ่นวายเพราะถูกชวาโจมตี สถานที่สำคัญหลายแห่งถูกทำลายลง
พุทธศตวรรษที่ 13 ศาสนาพุทธนิกายมหายานเข้าสู่อาณาจักรจามปา
พุทธศตวรรษที่ 14 อาณาจักรไดเวียด (เวียดนาม) ที่พวกอันนัมก่อตั้งขึ้นทางเหนือของจามปาเพราะจีนเสื่อมอำนาจลง เข้ามารุกรานอาณาจักรจามปา เมื่อกษัตริย์จามปาสวรรคต ชาวญวนนามว่า ลูกีตอง ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ ทำให้ชาวจามจำนวนมากหนีไปอยู่ที่เกาะไหหลำ ที่แคว้นกวางจิว ไม่นานจากนั้นชาวจามได้รวมตัวกันภายใต้ผู้นำพื้นเมือง เป็นโอกาสเดียวกับที่ ลูกีตอง ได้สิ้นชีวิตลง ผู้นำชาวพื้นเมืองจึงได้ขึ้นเป็นกษัตริย์
จากนั้นไม่นานชาวอันนัมก็ได้เข้ามาก่อกวนทางตอนเหนือของจามปาอยู่เสมอ อาณาจักรจามปาเสียหายหนักมาก เมืองหลวงถูกยึด กษัตริย์จามถูกบั่นพระเศียร ฉะนั้นสมัยต่อมากษัตริย์จามจึงพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์อันดีต่อไดโคเวียตและจีน แต่เหตุการณ์ระหว่างอันนัมก็ไม่ได้ดีขึ้นทั้งยังเสียเมืองทางตอนเหนือไป 3 เมือง
พุทธศตวรรษที่ 14-15 เป็นช่วงที่ อาณาจักรจามปา รุ่งเรืองสูงสุดช่วง แต่ช่วงปลายศรรตวรรษต้องกรำศึกสงครามกับ อาณาจักรไดเวียด ทางทิศเหนือ และอาณาจักรขอมโบราณ กระหนาบทางทิศใต้อย่างต่อเนื่อง
พุทธศตวรรษที่ 16 อาณาจักรจามปารุ่งเรืองขึ้น หลังจากที่ถูกรุกรานมาเป็นเวลานาน กษัตริย์จามทรงขับไล่กองทัพอันนัมที่รุกรานออกไป ต่อมาทรงรบชนะกองทัพขอมและรุกไปถึงฝั่งแม่น้ำโขงได้
พ.ศ. 1688 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 กษัตริย์อาณาจักรขอมเมืองพระนคร ผู้สร้างนครธม เข้ายึดครองเมืองหลวงได้ ต่อมา ชาวจามปารวมตัวกันติด จัดกองทัพยกมาตีเอาเมืองเมืองหลวงคืนได้ พ.ศ. 1692
พุทธศตวรรษที่ 17 กษัตริย์เขมรต้องการจะยึดอาณาจักรจามปา จึงยกกองทัพมาโจมตีจามปา ยึดเมืองหลวงตลอดจนเขตแดนทางส่วนเหนือ ชามจามจึงย้ายเมืองหลวงไปอยู่ทางตอนใต้ และในที่สุดก็ขับไล่เขมรออกไป พยายามรวมอาณาจักรขึ้นมาใหม่ ก่อนยกทัพตีกลับไปยังเขมรซึ่งคราวนี้สามารถโจมตีเข้าไปได้ถึงบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ในที่สุดก็สามารถยึดเมืองพระนครได้ การสู้รบในครั้งนี้ทำให้เกิดความเกลียดชังกันอย่างมากระหว่างจามปาและกัมพูชาจนหลายปีต่อมา และถูกกัมพูชารุกกลับ ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ทำให้อาณาจักรจามปาถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน
พุทธศตวรรษที่ 17 กษัตริย์เขมรต้องการจะยึดอาณาจักรจามปา จึงยกกองทัพมาโจมตีจามปา ยึดเมืองหลวงตลอดจนเขตแดนทางส่วนเหนือ ชามจามจึงย้ายเมืองหลวงไปอยู่ทางตอนใต้ และในที่สุดก็ขับไล่เขมรออกไป พยายามรวมอาณาจักรขึ้นมาใหม่ ก่อนยกทัพตีกลับไปยังเขมรซึ่งคราวนี้สามารถโจมตีเข้าไปได้ถึงบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ในที่สุดก็สามารถยึดเมืองพระนครได้ การสู้รบในครั้งนี้ทำให้เกิดความเกลียดชังกันอย่างมากระหว่างจามปาและกัมพูชาจนหลายปีต่อมา และถูกกัมพูชารุกกลับ ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ทำให้อาณาจักรจามปาถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน
พ.ศ. 1720 กองทัพเรือจามปายังยกพลขึ้นบกเข้าโจมตีและปล้นสะดม เผาทำลายเมืองพระนครของขอมเสียหายยับเยิน จนอำนาจอาณาจักรนครหลวงเสื่อมไประยะหนึ่ง พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-1763) จากอาณาจักรขอมเมืองพระนคร ได้ยกทัพเข้ารุกรานจามปาอีกครั้งและทำให้อาณาจักรจามปาถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอมเมืองพระนคร โดยมีภาพสลักยุทธนาวีปราบกองทัพจามที่ปรากฏอยู่ ณ ปราสาทนครธม
พุทธศตวรรษที่ 18 ชาวจามได้สามารถรวม อาณาจักรจามปา ขึ้นอีกครั้ง และตัดไมตรีกับ อาณาจักรขอมเมืองพระนคร ขณะนั้นก็หาทางยึดดินแดน 3 จังหวัดคืนจากอันนัม แต่อันนัมไม่ยอมและยกทัพมารบจน อาณาจามปา พ่ายแพ้
พ.ศ. 1803 พระเจ้ากุบไลข่าน ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำมองโกล และรุกรานอันนัม อาณาจักรจามปา จึงไม่ถูกรุกรานจาก อาณาจักรอันนัม เป็นการชั่วคราว
พ.ศ. 1823 มองโกลได้ส่งนายพลมาปกครองจามปา การกระทำครั้งนี้ทำให้เกิดขบวนการกู้ชาติขึ้นในจามปา ไม่นานจากนั้น อาณาจักรอันนัม ก็ไล่มองโกลออกไป ชาวจามสังหารนายพลชาวมองโกล และเพื่อป้องกันการกลับมามีอำนาจของชาวมองโกล กษัตริย์จามจึงส่งเครื่องบรรณาการไปให้ พระเจ้ากุบไลข่าน ในเวลาเดียวกันก็มีคณะทูตมาจากอาณาจักรขอมเมืองพระนครด้วย
อาณาจักรจามปาพบกับความสงบสุขเพราะกษัติรย์จามปาอภิเษกกับพระขนิษฐภคินีของพระจักรพรรดิญวน แต่ไม่นานนักความวุ่นวายก็ได้กลับคืนมาอีกครั้งเมื่อเกิดกบฏขึ้นทั้งสองอาณาจักรและผู้นำของแคว้นตังเกี๋ยได้จับรัชทายาทพร้อมทั้งพระมเหสีไป
สมัยต่อมา อาณาจักรจามปา ตกเป็นเมืองประเทศราชของ อาณาจักรไดเวียต (เปลี่ยนชื่อมาจากไดโตเวียต) มีบันทึกว่ากองทัพไทยของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ยกทัพไปตี อาณาจักรจามปา แต่กษัตริย์ญวนช่วยปกป้องเอาไว้ได้
พ.ศ. 1903 กษัตริย์จามได้เจริญสัมพันธ์กับจีน และสามารถรบชนะ อาณาจักรไดเวียต บุกจนถึงฮานอย แต่ระหว่างทางถูกทหารลอบปลงพระชนม์ นายทหารผู้นั้นได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ และต้องยกเมืองหลายเมืองให้อาณาจักรไดเวียต
กษัตริย์องค์ต่อมาได้ยกทัพไปบุกอาณาจักรขอมเมืองพระนคร ขณะที่ว่างศึกจาก อาณาจักรอันนัม เพราะจีนปราบ อาณาจักรไดเวียต ได้ แต่ไม่นาน อาณาจักรไดเวียต ก็ตั้งตัวได้
พ.ศ. 1984 อาณาจักรจามปา เกิดสงครามกลางเมือง อาณาจักรอันนัม ถือโอกาสยกทัพเข้ามายึดเมืองหลวงและ อาณาจักรจามปา ไว้ในอำนาจได้ ยึดอาณาเขตลงไปถึงใต้บริเวณ Cap Varella แต่ราชสำนักจามปา ก็ยังปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์
พ.ศ. 2014 กษัตริย์เลถั่นตอง แห่งไดเวียด ส่งทัพตีเมืองหลวงวิชัย ยึดสำเร็จ กระทั่ง พ.ศ. 2375 สมเด็จพระจักรพรรดิมิงห์หม่าง จึงได้ผนวกดินแดนส่วนที่เหลือของจามปาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนาม และกลืนชาวจามจนกลายเป็นชนกลุ่มน้อย
ระหว่างสงครามทำลายล้างชาวจามของขอมและไดเวียดนั้น ชาวจามบางส่วนอพยพเข้าสู่ดินแดนสยามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 - 2231)
ระหว่างสงครามทำลายล้างชาวจามของขอมและไดเวียดนั้น ชาวจามบางส่วนอพยพเข้าสู่ดินแดนสยามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 - 2231)
พ.ศ. 2263 อาณาจักรจามปา จึงล่มสลายลงอย่างถาวร
สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งรัตนโกสินทร์ มีชาวจามเข้ามามากที่สุดอีกช่วงหนึ่ง คือ เมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดครองกัมพูชาเมื่อกว่า 100 ปีก่อน โดยได้บีบบังคับห้ามนับถือศาสนาอิสลาม ชาวจามจึงเข้ามายังดินแดนไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น