ศาสตร์ ยี.เอส. ลูซ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์จีน ได้แปลเอกสารพงศาวดารจีนชื่อ หวง-เฉียว-บุ๋น-เหียน-ทง-เค้า เป็นเอกสารอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้กลยุทธทางการทูตเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองและการทหารในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน ในการหยุดยั้ง อาณาจักรจามปา และ อาณาจักรอีศานปุระ มิให้คุกคามดินแดนทางตอนใต้ของจีน โดยราชสำนักจีนส่งคณะทูตเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรหนึ่งมีชื่อว่า ชื่อ-ถู-กวั่ว (เชียะ-โท้ว-ก๊ก หรือ ฉี-ตู-ก๊ก) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
พ.ศ. 1150 ในปีที่ 3 แห่งรัชกาลพระเจ้าสุยเอี๋ยงตี้ ทรงมีพระราชโองการแต่งตั้งปัญญาชน ชาวเมืองก๊กอู๋ มีนามว่า เสียง-จุ่น แหน่งผู้รักษาพระราชทรัพย์ฝ่ายทหาร เป็นหัวหน้าคณะทูต และขุนนางผู้รักษาทรัพยากรธรรมชาติชื่อ เฮ่ง-กุ่น-เจ่ง เป็นอุปทูตอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการของพระจักรพรรดิเดนิทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ อาณาจักร ชื่อ-ถู-กวั่ว ท่านราชทูตเสียง-จุ่น ได้จดบันทึกการเดินทางไว้ว่า
คณะทูตลงเรือสำเภา
- ออกเดินทางจาก เมืองน่ำไฮ่ (มณฑลกว้างตุ้ง) เมื่อวันที่ 10 (ราวเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 1150) เดินทางระหว่างลมดี (ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัด)
- เรือแล่นใบไปในทะเล 20 วัน 20 คืน ถึงภูเขาชื่อเจียว-ชิ (ในประเทศเวียดนาม) ผ่านเลยไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซีกตะวันตกหันไปสู่ อาณาจักร ลิน-ยี่ (จามปา)
- เรือแล่นต่อมาทางใต้ถึง ไซ-จื้อ-เจี๊ยะ (หินสิงห์) จากนั้นผ่านไปตามแนวเกาะใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก อีก 2-3 วันต่อมาก็มองเห็นทิวภูเขาของ อาณาจักร หลั่ง-ยะ-สู อยู่ทางทิศตะวันตก (เทือกเขาตะนาวศรี)
- จากนั้นเรือแล่นลงไปทางใต้ผ่าน เกาะเกย-ลั่ง-เต้า (เกาะรังเป็ดรังไก่ ในเขตอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร) ก็ถึงเขตแดนของ อาณาจักร ชื่อ-ถู-กวั่ว
- ออกเดินทางจาก เมืองน่ำไฮ่ (มณฑลกว้างตุ้ง) เมื่อวันที่ 10 (ราวเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 1150) เดินทางระหว่างลมดี (ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัด)
- เรือแล่นใบไปในทะเล 20 วัน 20 คืน ถึงภูเขาชื่อเจียว-ชิ (ในประเทศเวียดนาม) ผ่านเลยไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซีกตะวันตกหันไปสู่ อาณาจักร ลิน-ยี่ (จามปา)
- เรือแล่นต่อมาทางใต้ถึง ไซ-จื้อ-เจี๊ยะ (หินสิงห์) จากนั้นผ่านไปตามแนวเกาะใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก อีก 2-3 วันต่อมาก็มองเห็นทิวภูเขาของ อาณาจักร หลั่ง-ยะ-สู อยู่ทางทิศตะวันตก (เทือกเขาตะนาวศรี)
- จากนั้นเรือแล่นลงไปทางใต้ผ่าน เกาะเกย-ลั่ง-เต้า (เกาะรังเป็ดรังไก่ ในเขตอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร) ก็ถึงเขตแดนของ อาณาจักร ชื่อ-ถู-กวั่ว
พระเจ้ากรุงชื่อ-ถู-กวั่ว ทรงโปรดให้พระราชกุมารแต่งกายเป็นพราหมณ์พร้อมด้วยขบวนเรือสำหรับเดินทะเลจำนวน 30 ลำ ออกไปคอยต้อนรับคณะทูตในกลางทะเล ด้วยการเป่าสังข์ตีกลองแสดงความยินดีและให้เกียรติต้อนรับคณะทูต ต่อจากนั้นได้ใช้โซ่ทองผูกหัวเรือพระราชสาสน์ลากจูงเข้าฝั่ง แห่เเหนไปในลำแม่น้ำเป็นเวลา 1 เดือน จึงเดินทางไปถึงเมืองหลวง อาณาจักร นี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของ อาณาจักรฟูนัน ตั้งอยู่ในบริเวณทะเลจีนใต้ เราอาจเดินทางไปถึงโดยทางเรือในเวลากว่า 100 วัน (ไม่ทราบว่านับจากเมืองหลวงของระเทศจีนหรือจากเมืองกวางตุ้ง) สีของพื้นดินในเมืองหลวงเป็นสีแดง จึงได้ชื่อว่า อาณาจักร ชื่อ-ถู-กวั่ว แปลว่า อาณาจักรดินแดง
แม้ว่าแผนที่เดินทางของคณะทูตจีนบอกเส้นทางเดินเรือซึ่งเริ่มต้นจากเมืองท่าในมณฑลกวางตุ้ง ผ่านน่านน้ำประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา เข้าสู่บริเวณอ่าวไทย เป็นเวลานานราว 20 วันเศษ จึงมองเห็นเทือกเขาตะนาวศรีตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก เรือแล่นต่อลงไปทางใต้จนถึงเกาะรังเป็ดรังไก่ทางตอนใต้ของจังหวัดชุมพร จึงไปถึงเขตแดน อาณาจักร ชื่อ-ถู-กวัว แสดงให้เห็นว่า อาณาจักร หลั่ง-ยะ-สู หรืออาณาจักรคามลังกา ตั้งอยู่ทางเหนือของ อาณาจักร ชื่อ-ถู-กวั่ว ดินแดนของประเทศดินแดงควรจะตั้งอยู่บริเวณทางตอนใต้ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี สันนิษฐานกันว่า เรือคณะทูตถูกลากจูงเข้าไปในลำแม่น้ำตาปี แห่เหนกันไปตามลำแม่น้ำอยู่เป็นเวลาถึง 1 เดือน อาจเป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาเดินทางที่ยาวนาน ทำให้นักประวัติศาสตร์ตีความแตกต่างไป แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ยอมรับกันว่า อาณาจักร ชื่อ-ถู-กวั่ว อาจหมายถึงศูนย์กลางตลาดการค้าใหญ่ที่ตั้งอยู่ในคาบสมุทรทางภาคใต้ ตามที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีนว่า เมืองเตี๋ยนซุน หรือ ตุนซุน อันเป็นเมืองท่าขนถ่ายสินค้าเดินบกข้ามแหลมมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ซึ่งเคยพ่ายแพ้ มหาราชฟัน-จี-มัน แห่ง อาณาจักรฟูนัน ยุคแรก
ราชทูตเสียง-จุ่น ได้อธิบายอาณาเขตของนครรัฐดินแดง ซึ่งติดต่อกับนครรัฐข้างเคียงไว้ว่า
- เขตแดนทิศตะวันออกติดต่อกับรัฐโป-โล-ล้า
- ทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐโป-โล-โช้
- ทิศใต้ติดต่อกับรัฐโฮ-โล-ตัน
- ทิศเหนือถึงทะเลใหญ่
เนื้อที่ของประเทศนี้กว้างขวางหลายพันลี้ พลเมืองเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกับ อาณาจักรฟูนัน
- เขตแดนทิศตะวันออกติดต่อกับรัฐโป-โล-ล้า
- ทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐโป-โล-โช้
- ทิศใต้ติดต่อกับรัฐโฮ-โล-ตัน
- ทิศเหนือถึงทะเลใหญ่
เนื้อที่ของประเทศนี้กว้างขวางหลายพันลี้ พลเมืองเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกับ อาณาจักรฟูนัน
พระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระเจ้าลี-ฟู-โต-เส มีนามราชวงศ์ว่า จู-ถ่าน (โคตมะวงศ์) พระองค์ไม่สนพระทัยเรื่องราวของอาณาจักรข้างเคียงหรืออาณาจักรที่อยู่ไกลออกไป พระราชบิดาของพระองค์ทรงสละราชสมบัติออกผนวชเพื่อประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า พระองค์จึงขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดามาได้ 14 ปีแล้ว ทรงมีพระมเหสี 3 องค์ ล้วนแต่เป็นราชธิดากษัตริย์ข้างเคียง พระองค์ประทับอยู่ที่ นครเซ่ง-จี่
ศิลาจารึกหลักที่ 24 กล่าวถึงชื่อ กรุงตามพรลิงค์ นักประวัติศาสตร์บางท่านพยายามให้คำอธิบายว่าหมายถึง ศิวลึงค์สีแดง ซึ่งเป็นรูปเคารพของศาสนาพราหมณ์ แต่บ้านเมืองเหล่านี้ล้วนแต่นับถือศาสนาพุทธ
นายทหารอังกฤษชื่อ พันเอกเยมส์ โลว์ พบแผ่นอิฐจารึก ที่ เมืองสวินเวสเลย์ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ตรงกลางแผนจารึกนั้นทำเป็นรูปเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ มียอดฉัตร 7 ชั้น ด้านข้างจารึกตัวอักษรภาษาสันสกฤตสันนิษฐานกันว่ามีอายุเก่าแก่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 ความว่า
“มหานาวิกะนามพุทธคุปต์ ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ที่ภูมิรักตะมฤติกา ขอให้การเดินทางประสบความสำเร็จ”
จากจารึกบนแผ่นอิฐบอกให้ทราบว่า กัปตันเรือชื่อ พุทธคุปต์ อาศัยอยู่ในประเทศดินแดง
นักโบราณคดีจึงมีความเห็นว่า รักตะมฤติกา ตามพรลิงค์ หรือ ชื่อ-ถู-กวั่ว แปลว่า ประเทศดินแดงเหมือนกันทั้งสิ้น อาจเป็นชื่อที่สื่อถึงอาณาจักรเดียวกัน
--------------------------------------
จดหมายเหตุราชทูตเสียง-จุ่น กล่าวถึงประวัติศาสตร์อารยธรรมของอาณาจักรตามพรลิงค์ที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในสมัยนั้นต่อไปว่า
--------------------------------------
พระราชวังมีประตู3 ชั้น แต่ละชั้นห่างกันราว 100 ก้าว แต่ละประตูมีภาพเขียนเป็นรูปเทวดาเหาะ ภาพพระโพธิสัตว์และเทพอื่นๆ ตามประตูแขวนดอกไม้ทอง ระฆังเล็ก และ มีหญิงหลายสิบคนเป็นพนักงานประโคมดนตรี ถือดอกไม้ทองคำและเครื่องประดับอื่นๆ มีชาย 4 คน แต่งกายเป็นเทวดา (ชิน-กัง) เหมือนที่ยืนเฝ้าอยู่สี่ด้านของพระเจดีย์ในพุทธศาสนา ยืนเฝ้าประตูพระราชวัง แต่พวกทหารที่เฝ้าอยู่นอกประตูวัง ถืออาวุธสำหรับรบชนิดต่างๆ พวกเฝ้าประตูข้างในถือผ้าขาวยืนอยู่ตามทางเดินเก็บดอกไม้ใส่ถุงสีขาว อาคารต่างๆ ในพระราชวัง ประกอบด้วยพระที่นั่งติดต่อกันไป มีประตูอยู่แต่ทางทิศเหนือ ในท้องพระโรง พระเจ้าแผ่นดินประทับบนราชบัลลังก์ 3 ชั้น หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ แต่งพระองค์ด้วยผ้าสีกุหลาบ มีรัดเกล้าเป็นดอกไม้ทองคำ สร้อยพระศอประดับเพชรมีนางพนักงานเฝ้าทั้งซ้ายทั้งขวาข้างละ 4 คน และทหารรักษาพระองค์กว่า 100 คน
ด้านหลังราชบัลลังก์ มีแท่นบูชาทำด้วยไม้แก่นบุทองคำ บุเงินประกอบขึ้นด้วยไม้หอมถึง 5 ชนิด ด้านหลังของแท่นบูชานี้มีโคมไฟทองคำแขวนอยู่ 2 ข้าง มีกระจกเงาข้างละบาน หน้ากระจกเงาวางหม้อน้ำโลหะไว้ ข้างหน้าหม้อน้ำมีที่เผาของหอมทำด้วยทองคำ ข้างหน้าของสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดมีวัวทองคำนอนอยู่ ข้างหน้าวัวทองคำแขวนผ้าปักด้วยเพชรพลอยและพัดอย่างสวยงามอยู่ทั้งสองข้าง
ข้อความในเอกสารประวัติศาสตร์จีน แสดงรายละเอียดให้เห็นถึงการจัดระบบ การเมือง การปกครอง ของอาณาจักรโบราณในสมัยกลางพุทธศตวรรษที่ 11 ตรงกับช่วงปลายรัชกาลพระเจ้ามเหนทรวรมันกำลังแผ่ขยายอำนาจอาณาจักรกัมพูชา เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่า อาณาจักรตามพรลิงค์มีอำนาจทางการเมือง การทหาร ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าแระเทศใดในคาบสมุทรอินโดจีน และบ้านเมืองต่างๆ ในประเทศไทยยังคงเป็นอิสระอยู่มีความสำคัญในระดับที่ประเทศจีนจำเป็นต้องส่งคณะทูตเดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีก่อน ราชทูตเสียง-จุ่น ได้เล่ารายละเอียดในด้านสังคมอย่างน่าสนใจว่า
เป็นธรรมเนียมของคนทุกคนในประเทศนี้ ทั้งหญิงชายเจาะรูที่แผ่นหูและตัดผม ทุกคนนิยมทาตัวด้วยน้ำมันหอม โดยทั่วไปคนนับถือบูชาพระพุทธเจ้า แต่ก็ให้ความเคารพแก่พวกพราหมณ์เป็นอย่างมาก ผู้หญิงมังเกล้าผมไว้แค่ต้นคอ ทั้งหญิงทั้งชายนุ่งด้วยผ้าสีแดง และสีเรียบๆแม้ครอบครัวชั้นสูงจะมีอิสระเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆ แต่จะมีล็อกเกตตาบทองใช้ต่อเมื่อได้รับราชานุญาติ ในการจัดพิธีแต่งงาน เขาจะเลือกหาวันที่เป็นมงคลวันหนึ่งในระยะ 5 วันก่อนแต่งงาน ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะมีการจัดงานเลี้ยงดูญาติมิตร ผู้เป็นบิดาจะจับมือเจ้าสาวส่งให้แก่ผู้เป็นเขยของเขาในวันแต่งงาน ในวันที่ 7 พิธีต่างๆ จึงจบลง คู่บ่าวสาวก็เป็นสามีภรรยากันตามประเพณี ภายหลังการแต่งงานมีการแบ่งทรัพย์สมบัติให้แก่ครอบครัวใหม่ไปสร้างบ้านแยกครอบครัวออกไป ยกเว้นบุตรคนสุดท้อง จะต้องอยู่กับบิดามารดา เมื่อบิดามารดาหรือญาติพี่น้องถึงแก่กรรม ลูกหลานก็จะโกนศีรษะ นุ่งผ้าขาว เขาสร้างโรงขนาดเล็กทำด้วยลำไม้ไผ่ มีเพดานกองไม้ฟืนไว้ที่ศพ จุดของหอม ประดังธงทิว เป่าสังข์ ตีกลอง แล้วจุดไฟที่กองฟืน ภายหลังจึงกวาดกองไฟลงในน้ำ ทั้งคนชั้นสูงและคนธรรมดาเผาศพด้วยวิธีนี้ แต่การปลงศพพระเจ้าแผ่นดิน พระอัฐิที่เหลือจากกองไฟจะนำไปรักษาไว้ในโกศทองทำ อีกส่วนหนึ่งบรรจุไว้ในวัดแห่งหนึ่ง
ส่วนพิธีการทางการทูตเกี่ยวกับการเข้าเฝ้าฯ ถวายพระราชสาสน์ และการจัดเลี้ยงรับรอง
คณะทูตของประเทศชื่อ-ถู-กวั่ว ราชทูตเสียง-จุ่น ได้จดบันทึกรายละเอียดถึงพิธีการต้อนรับอย่างมโหฬารในสมัยนั้นไว้ว่า
พระเจ้ากรุงชื่อ-ถู-กวั่ว ได้ส่งพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ซึ่งดำรงตำแหน่งนา-ยะ-เกีย มารับ
คณะราชทูตด้วยพิธีอันเอิกเกริก ในขั้นต้อนพระองค์ส่งพนักงานนำถาดทองคำบรรจุดอกไม้หอม กระจกเงา คีมทองคำ หม้อน้ำมันหอม 2 หม้อ น้ำหอมอี 8 หม้อ ผ้าขาว 4 ผืน เพื่อให้ราชทูตอาบน้ำและแต่งกายใหม่เพื่อเข้าเฝ้าฯ ในเวลาบ่ายวันเดียวกัน ท่านนา-ยะ-เกียส่งช้างมา 2 เชือก เชือกหนึ่งมีผ้าคาดเพดานประดับขนนกยูง อีกเชื่อกหนึ่งมีพานมีลวดลายเป็นดอกไม้ทองสำหรับอัญเชิญพระราชสาสน์ มีหนักงานหญิงชาย 100 คน เป่าสังข์ ตีกลอง และมีพราหมณ์ 2 ท่านเดินนำหน้านำคณะทูตเข้าไปยังพระราชวัง เพื่อถวายพระราชสาสน์ในที่ออกขุนนาง ซึ่งมีบรรดาขุนนางน้อยใหญ่นั่งอยู่กับพื้น เมื่อราชทูตอ่านพระราชสาสน์จบแล้ว มีผู้มาเชิญให้ราชทูตและคณะนั่งลง ดนตรีประโคมครั้นดนตรีบรรเลงจบแล้ว เสร็จสิ้นพิธีการถวายพระราชสาสน์ ราชทูตและคณะกลับที่พักรับรอง
ราชทูตเสียง-จุ่น เล่าถึงพิธีการเลี้ยงรับรองคณะทูต ซึ่งพราหมณ์ประจำราชสำนักจัดขึ้นโดย
เป็นทางการไว้ว่า
พราหมณ์หลายคนได้จัดอาหารเลี้ยงคณะทูต โดยเอาใบไม้มาเย็บติดกันเป็นรูปกระทงขนา
ใหญ่ กว้างถึงกระทงละ 10 ฟุต สำหรับใช้เป็นภาชนะใส่อาหาร หัวหน้าพราหมณ์ร้องกล่าวเชิญคณะทูตด้วยความยกย่องว่า ท่านขุนนางของประเทศที่ยิ่งใหญ่ แม้ว่าพวกเราจะมิได้เป็นขุนนางของประเทศชื่อ-ถู-กวั่วก็ตาม แต่ใคร่ขอเชิญให้ท่านร่วมรับประทานอาหารอันต่ำต้อยที่พวกเราได้จัดมาเพื่อเป็นเกียรติ และแสดงความยินดีในกรต้อนรับประเทศที่ยิ่งใหญ่ของท่าน
ส่วนพิธีการเลี้ยงรับรองทางการทูตอย่างเป็นทางการนั้น ราชสำนักชื่อ-ถู-กวั่ว ได้จัดขึ้นภาย
หลังการเลี้ยงรับรองของคณะพราหมณ์ มีข้อความตอนหนึ่งว่า
อีกสามวันต่อมา คณะทูตได้รับเชิญไปในพระราชพิธีเลี้ยงต้อนรับคณะทูตด้วยพิธีการเอิกเกริก
มีขบวนแห่เหนเหมือนกับการเข้าเฝ้าฯในครั้งแรก ประกอบด้วยกองทหารเกียรติยศเดินนำหน้าเข้าไปในบริเวณที่ประทับสถานที่จัดเลี้ยงสร้างเป็นยกพื้นขึ้น 2 ที่ บนยกพื้นนั้นมีกระทงทำด้วยใบไม้เป็นจำนวนมาก แต่ละกระทงกว้างยาวถึง 15 ฟุต ประกอบด้วยอาหารต่างๆ จำนวนมาก เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อปลา เนื้อเต่าทะเล เนื้อเต่าน้ำจืด รวมแล้วตั้ง 100 ชนิด ส่วนประเภทขนมมีสีต่างๆ 4 สี คือ สีเหลือง สีขาว สีม่วง และสีแดง พระเจ้ากรุงชื่อ-ถู-กวั่ว รับสั่งให้ราชทูตขึ้นไปนั่งบนที่ยกพื้นสูงซึ่งจัดไว้สำหรับร่วมเสวยพระกระยาหารร่วมกับพระองค์ส่วนพวกขุนนางชั้นผู้ใหญ่นั่งกันบนพื้น แต่ละคนมีขันทองคำประจำตัวไว้สำหรับดื่มสุรา พนักงานหญิงคอยบรรเลงดนตรีขับ
กล่อมอยู่โดยรอบจนเสร็จสิ้นพิธีการ
ราชทูตเสียง-จุ่น ได้จดบันทึกถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศชื่อ-ถู-กวั่ว ในครั้งนั้นไว้ต่อไปว่า
พระเจ้ากรุงชื่อ-ถู-กวั่ว ทรงโปรดแต่งตั้งให้ท่านนา-ยะ-เกียเป็นหัวหน้าคณะทูต เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักสุยเป็นการตอบแทน โดยเดินทางไปพร้อมคณะทูตจีนในตอนขากลับ อัญเชิญพระราชสาสน์จารึกในแผ่นทองคำบรรจุกล่องทองคำ และเครื่องราชบรรณาการประกอบด้วย มงกุฎทองคำทำเป็นรูปดอกชบา การบูร สิ่งของพื้นเมืองอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อได้เวลา พวกพราหมณ์ถือดอกไม้ เป่าสังข์ ตีกลอง แห่เหนพระราชสาสน์ไปส่งลงเรือ ขบวนเรือคณะทูตเดินทางออกสู่ทะเลใหญ่ แล่นใบไปในท้องทะเลประมาณ 10 วันก็ถึงภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศลิน-ยี่(เวียดนาม) อันประกอบด้วยทิวภูเขาสูง ราชทูตมองเห็นฝูงปลามีสีเขียวเหมือนใบไม้บินไปเหนือน้ำฝูงหนึ่ง เรือแล่นเลียบชายฝั่งขึ้นไปทางทิศเหนือ เดินทางไปถึงเมืองเกียวจี่ในฤดูใบไม้ผลิเป็นปีที่6 แห่งราชกาล ท่านนา-ยะ-เกีย ได้เข้าเฝ้าฯพระจักรพรรดิ พระองค์ยินดีให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ทรงพระราชทานสิ่งของกว่า 200 ชนิด เป็นการตอบแทนแก่ท่านราชทูตและคณะ พร้อมทั้งพระราชทานตำแหน่งเข้าเฝ้าฯ ได้ทุกโอกาสให้แก่ท่านนา-ยะ-เกีย
หลักฐานความสัมพันธ์ทางการทูตครั้งสำคัญและเก่าแก่ถึงสมัยกลางพุทธศตวรรษที่ 11 อันเป็นช่วงรอยต่อทางประวัติศาสตร์ระหว่างสมัยสุวรรณภูมิตอนปลายกับสมัยทวารดีตอนต้น ถูกมองข้ามและขาดหายไปจากประวัติศาสตร์ชาติไทย ชื่อเสียงที่เคยโด่งดังลือลั่นอยู่อยู่ในพงศาวดารจีนว่า ประเทศชื่อ-ถู-กวั่ว หรืออาณาจักรตามพรลิงค์ ซึ่งแปลว่า ประเทศดินแดง ถูกลบไปจนหายไปจากประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ อาจเกิดจากอิทธิพลของข้อเขียนซึ่งศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ กล่าวถึงชนชาติต่างๆ ในแหลมอินโดจีนสมัยนั้นว่า
“อาณาจักฟูนันได้สูญสิ้นไป กลายเป็นอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในตอนแรกยังรวมตัวกันอยู่ในที่
ราบลุ่มทะเลสาบสูงโคราชและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตอนกลาง อันเป็นการกระทบกระเทือนต่ออาณาจักรทวารวดีในขณะนั้น ซึ่งพวกมอญยังคงรักษาสถานะทางการเมืองของตนไว้ได้เฉพาะในบริเวณปากแม่น้ำพม่าและในบริเวณปากแม่น้ำพม่าและในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนเหนือเท่านั้น”
นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสผู้นี้ ยังได้แสดงความเห็นชี้นำต่อไปว่า
“ประเทศที่รับเอาอารยธรรมอินเดียนั้น จารึกต่างๆ ที่เคยอาศัยเป็นพื้นฐานข้อมูลส่วนใหญ่ของศตวรรษก่อนๆ ตกมาในระยะนี้แทบจะไม่มีจารึกแบบเดียวกันนั้นอยู่เลย และผลงานทางประวัติศาสตร์ของฝ่ายจีนซึ่งเป็นขุมข่าวสารอีกประเภทหนึ่ง ในยุคหลักศตวรรษที่ 18 ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างครบถ้วนบริบูรณ์เท่าที่เคยใช้มาในยุคก่อนหน้านั้น...”
ท่านจึงกล่าวสรุปประวัติศาสตร์ประเทศสยามไว้ว่า
“ชาวไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือสามารถสลัดแยกจากการครอบงำของเขมร แล้วสถาปนาราชอาณาจักรไทยอิสระขึ้นเป็นแห่งแรกที่กรุงสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหง ราชโอรสองค์ที่ 3 และเป็นรัชทายาทองค์ที่ 2 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงเป็นผู้ทำให้รัฐใหม่นี้เจริญถึงจุดสุดยอดแห่งอำนาจ.…ในยุคนี้เองคือ ในพ.ศ. 1825 กรุงสุโขทัยได้มีความสัมพันธ์เป็นครั้งแรกกับประเทศจีน เราไม่ทราบว่าพระบรมราชโองการของจักรพรรดิ เมื่อ พ.ศ. 1842 ที่มีไปยังกษัตริย์แห่งเสียม(สยาม) นี้จะได้ผลหรือไม่....”
ความเห็นของนักประวัติศาสตร์ต่างชาติข้างต้นได้สรุปตีความเหมารวมในลักษณะซุกซ่อนปกปิดข้อเท็จจริงทางวิชาการไว้อย่างแนบเนียนจนสามารถสร้างความเชื่อขึ้นอย่างมั่นคงว่า“ชนชาติสยาม” และ “ชนชาติไทย” เป็นชนเผ่าพันธุ์เดียวกันที่เริ่มต้นสร้างประวัติศาสตร์ของตนขึ้นทางภาคเหนือเมื่อราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 พร้อมทั้งพยายามอธิบายให้ชาวโลกเชื่อว่า อาณาจักรฟูนัน หมายถึงอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งมีอำนาจทางการเมืองเหนือดินแดนในประเทศไทยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11 ก่อนหน้านั้นประวัติศาสตร์จีนมิได้เอ่ยถึงชื่อของ “ราชอาณาจักรสยาม” หรือ “ชนชาติสยาม” ไว้เลย ชนเผ่าเร่ร่อนดังกล่าวนี้ เพิ่งปรากฏโฉมหน้าขึ้นในแหลมอินโดจีน แย่งชิงดินแดนของชนชาติมอญและชนชาติเขมร สถาปนาราชอาณาจักรไทยสืบลงมาจนถึงปัจจุบัน
ศาสตราจารย์มานิต วัลลิโภดม และนักประวัติศาสตร์ไทยอีกหลายท่านที่ไม่เห็นด้วยกับความเห็นรวบยอดดังกล่าว พยายามให้ความสำคัญต่อหลักฐานทางโบราณคดีทางภาคใต้ ตลอดจนเอกสารประวัติศาสตร์จีน ตำนานพงศาวดารลังกา จดหมายเหตุนักเดินเรือชาวอาหรับ พอข้อมูลใหม่หลายประการเกี่ยวกับยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เกิดขี้นในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยปลายพุทธศตวรรษที่ 11 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประวัติศาสตร์ประเทศชื่อ-ถู-กวั่ว ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาศึกษาตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน จนเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันนี้ว่า หมายถึง“อาณาจักรตามพรลิงค์โบราณ” ที่ยังคงมีอำนาจทางการเมืองการทหารอยู่ในคาบสมุทรทางภาคใต้ อาณาจักรศาสนาพุทธแห่งนี้มิได้พ่ายแพ้หรือถูกยึดครองจากกองทัพเกรียงไกลของพระเจ้าอีสานวรมันแห่งอาณาจักรกัมพูชาแต่อย่างใด ดังปรากฏหลักฐานชัดเจนอยู่ในจดหมายเหตุของราชทูตเสียง-จุ่นดังกล่าวมาแล้ว
--------------------------------
นอกจากนั้น ยังอ้างถึงจดหมายเหตุของภิกษุนักจากริกจีน ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังอีกรูปหนึ่งมีชื่อว่า หลวงจีนอี้-จิง ซึ่งเคยเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาในประเทศอินเดียโดยทางเรือทั้งขาไปและขากลับผ่านทะเลจีนใต้ระหว่าง พ.ศ. 1214 ถึง พ.ศ. 1236 ท่านได้เดินทางไปยังแคว้นสมทัตหรือบังกลาเทศ เหมือนกับเมื่อครั้งหลวงจีนยวน-ฉ่าง หรือ พระถังซำจั๋งเคยไปเยือนเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 11 ท่านจดบันทึกถึงดินแดนสุวรรณภูมิไว้ว่า
- ดินแดนทางตะวันออกของมหาวิทยาลัยนาลันทาไกลออกไป 500 โยชน์ เรียกว่า ปัจระประเทศฝ่ายตะวันออก
- ณ ที่สุดถึงเทือกภูเขาดำใหญ่ซึ่งอาจเป็นพรมแดนฝ่ายใต้ของตะรุฟัน (ประเทศทิเบต)
- กล่าวกันว่าเทือกเขานี้ (ภูเขาหิมาลัย) อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลจก(มณฑลเสฉวน) เราอาจเดินทางไปถึงภูเขานี้ได้ในเวลากว่า 1 เดือน
- ทางใต้จากนี้ไป มีบ้านเมืองจดทะเลเรียกว่า ประเทศ ซิด-หลี-ซ่า-ต้า-ล้อ (อาณาจักรศรีเกษตร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศพม่า)
- ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศนี้เป็นประเทศหลั่ง-เจีย-สู (อาณาจักรคามลังกา)
- ต่อมาทางตะวันออกคือ ประเทศ ตู-โห-โป-ติ (อาณาจักรทวารวดี)
- ต่อไปทางตะวันออกในที่สุดถึง ประเทศลิน-ยี่ (อาณาจักรจามปา ในประเทศเวียดนาม)
พลเมืองของประเทศเหล่านี้นับถือพระรัตนตรัยอย่างดี...”
ข้อความในบันทึกของ หลวงจีนอี้-จิง มีข้อสังเกตุที่แตกต่างไปจากจดหมายเหตุของ หลวงจีนยวน-ฉ่าง คือ อาณาจักรอีสานปุระ ได้ขาดหายไปโดยไม่มีผู้ใดทราบสาเหตุที่แน่ชัด นอกจากปรากฏข้อความในพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ถังกล่าวไว้แต่เพียงว่า อาณาจักรอีสานปุระได้แตกแยกออกเป็น 2แคว้น เรียกว่า แคว้นเจนละน้ำ อันเป็นหลักฐานยืนยันว่า อาณาจักรกัมพูชาได้แตกสลายไปอย่างลึกลับโดยไม่ทราบต้นสายปลายเหตุเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 11 ภายหลังจากประเทศจีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างมั่นคงกับอาณาจักรตามพรลิงค์ เมื่อ พ.ศ. 1150 อาณาจักรจามปาถูกกองทัพจีนโจมตีและบังคับให้อยู่ภายใต้อำนาจทางการเมืองของประเทศจีน ส่วนอาณาจักรศรีเกษตรคงมีอำนาจอยู่เฉพาะในดินแดนทางภาคเหนือของประเทศพม่า พื้นที่ปากแม่น้ำอิรวดีตามชายฝั่งทะเลทางตอนใต้มีหลักฐานว่า ชนชาติมอญตั้งหลักแหล่งอาศัยอยู่ทั่วไป แต่ไม่ปรากฏร่องรอยอะไรที่แสดงให้เห็นว่าชนชาติมอญมีอิทธิพลทางการเมืองและการทหารในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างฉับพลันบนคาบสมุทรอินโดจีนประมาณ พ.ศ. 1181 เพราะหนังสือ “ตำนานพงศาวดารเหนือ” กล่าวถึงการจัดระเบียบสังคมใหม่ขึ้นในดินแดนประเทศไทยไว้อย่างน่าสนใจว่า
ศุภมัสดุ พุทธศักราช 306 ปีกุน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงกษัตริย์เมืองตักกะสิลามหานคร ทรงพระนามพระยาสักรดำมหาราชาธิราชทรงอานุภาพมหิทธิฤทธิ์เลิศล้ำกว่ากษัตริย์ทั้งหลาย....มีพระราชโองการสั่งแก่อดีตพราหมณ์ปุโรหิตว่า ตั้งแต่วันนี้ไปจนสิ้นพระพุทธศาสนา ให้ตั้งจุลศักราชไว้สำหรับกรุงกษัตริย์สืบไปเมื่อหน้า จึงให้ตั้ง ณ วันพฤหัสบดี เดือน 5 แรม 1 ค่ำ จุลศักราชปีชวด เอกศก เมื่อมหาสงกรานต์ไปแล้ว จึงให้ยกขึ้นเป็นจุลศักราชวันเดือนปีใหม่……พระองค์ให้ตั้งพระราชกำหนดจุลศักราชแล้ว พระองค์สวรรคตในปีนี้ เสวยราชสมบัติ 72 ปี จุลศักราชศก 1”
พระราชประวัติของพระยาสักรดำมหาราชาธิราช ผู้ประกาศตั้งปีจุลศักราชขึ้นในสมัยศิลาจารึก แต่หนังสือตำนานพงศาวดารเหนือเพิ่งเขียนขึ้นในชั้นหลัง นักประวัติศาสตร์สมัยเก่าคือพระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) ได้พยายามศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้ และอธิบายขยายความไว้ว่าศักราช ปี เดือน ในตำนานต่าง ๆมักผิดพลาดคลาดเคลื่อนกันมากเพราะสังเกตเห็นว่า ต้นฉบับตำนาน เป็นหนังสือที่แต่งขึ้นในชั้นหลัง แต่ได้คำนวณศักราชถอยหลังไป ทั้งวิธีการคิดคำนวณ วัน เดือน ในรอบปี ของ “ชาวไทยเหนือ” หรือ “ลาว” และ “ชาวไทยใหญ่” หรือ “เงี้ยว” ใช้วิธีการนับอย่างจีน ทิเบต เป็นต้นว่า เดือน 5 ของภาคกลาง พวกไทยใหญ่หรือเงี้ยว นับเป็นเดือน 6 แต่ในมณฑลพายัพ นับเป็นเดือน 8 จึงไม่ตรงกัน
ท่านได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับคำว่า “ศักราช” อาจแปลความหมายได้เป็น 2 นัย คือ แปลว่า พระราชาของชาวศักกะ อย่างหนึ่ง แต่หากคำว่า “ศก” หมายถึงปี ก็อาจแปลว่า การนับปีที่พระเจ้าแผ่นดินดำรงราชย์ อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีแบบอย่างเป็นประเพณีอยู่หลายประการตามวัฒนธรรมอินเดียว ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวของพระราชาธิราชผู้มีชื่อเสียงในอดีต ทรงแผ่กฤษฏาภินิหารไปทั่วทวีป แล้วประกาศตั้งปีศักราชนั้นไว้เป็นอนุสาณ์ เช่น กาลียุคศักราช, วิกรมาทิตย์ศักราช,มหาศักราช เป็นต้น นอกจากนั้นวันดับขันธ์ของศาสดาสำคัญทางศาสนา บรรดาสาวกมักประกาศจัดตั้งปีศักราชไว้เป็นที่ระลึกถึง เช่น มหาวิระศักราช,พุทธศักราช แต่มีวิธีการคำนวณโดยยึดถือกาลียุคศักราชเป็นบรรทัดฐาน คือ พุทธศักราช ตั้งขึ้นในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อกาลียุคศักราชล่วงลงมาแล้วได้ 2559 ปี ต่อมาปี มหาศักราช กษัตริย์อินเดียประกาศตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราชล่วงหน้าได้ 621 ปี ภายหลังพระยาสักรดำมหาราชาธิราชทรงประกาศตั้งปีจุลศักราชขึ้นมหาศักราชล่วงหน้ามาได้ 560 ปี ตรงกับปีพุทธศักราช 1181
นักประวัติศาสตร์ผู้พยายามค้นหาความจริงในตำนานพงศาวดารโยนกท่านนี้ให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อความที่กล่าวว่า “ศุภมัสดุ พุทธศักราช 306 ปีกุน” พระยาสักรดำมหาราชาธิราชทรงทำพิธีตัดหรือลบศักราชแล้วประกาศตั้งปีจุลศักราชขึ้นใหม่นั้น เป็นวิธีการเขียนตำนานแบบโบราณเพื่อร่นเวลาขึ้นไปให้ทันสมัยพุทธกาลและพัวพันอยู่กับเรื่องพุทธพยากรณ์ว่าบ้านเมืองของตนพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับ หรือทำนายไว้ว่าต่อไปจะเจริญรุ่งเรือง เป็นแหล่งประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน แต่ใช้วิธีการคำนวณผิดหลักเกณฑ์ทั้งระบบสุริยคติและระบบจันทรคติ เพราะการ นับ วัน เดือน ปี ของประเทศอินเดียกับประเทศจีนแตกต่างกัน แต่เชื่อว่าในปี พ.ศ. 1181 นั้น พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเดชาอานุภาพยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ได้ประกาศตั้งปีจุลศักราชขึ้นในดินแดนแหลมอินโดจีนแน่นอนเพราะว่าประเทศต่าง ๆ ในแถบนี้ เป็นต้นว่า พม่า มอญ เขมร ลาว ไทย ต่างนิยมใช้ปีจุลศักราชสืบต่อมาจากปีมหาศักราช จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนในปัจจุบันจุลศักราชยังคงนิยมใช้กันอยู่ในวงการโหราศาสตร์เรียกว่าศักราชโหรา
แม้ว่าตำนานพงศาวดารไทยเหนือบางฉบับอ้างว่า พระยาสักรดำมหาราชาธิราชเป็นกษัตริย์พม่าผู้ครอบครองอาณาจักรพุกาม แต่เดิมอุปสมบทได้รับสมณศักดิ์เป็น “สังฆราชบุพโสรหัน”ลาเพศบรรพชิตออกมาชิงราชสมบัติ เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 19 แห่งราชวงศ์สมุทรฤทธิ์ เป็นผู้ประกาศตั้งจุลศักราชขึ้นเพื่อพุทธกาลล่วงมาได้ 1182 วัสสา กาลียุคศักราชล่วงได้ 3739 ปี ตำนานพงศาวดารเชียงแสนกล่าวว่า พุทธกาลล่วงได้ 622 พรรษา “พระยาตรีจักขุ” กรุงพุกามลบพุทธศักราช 622 เสีย ตั้งศักราชใหม่มาได้ 559 ปี จึงพระยาอนุรุทธรรมิกราชลบศักราชตรีจักขุ 559 เสีย ตั้งจุลศักราชใหม่ในปีกุนเป็นเอกศกนั้น นอกจากผู้แต่งตำนานใช้เกณฑ์ศักราชผิดแล้ว ยังทำให้เรื่องราวของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่สมัยนั้นหาข้อยุติแน่นอนไม่ได้ว่า เป็นชนชาติมอญหรือชนชาติพม่าหรือเป็นชนชาติใดกันแน่ เพราะขัดแย้งกับข้อความเรื่องเดียวกัน แต่ต่างเวลาเพียง 10 ปี กษัตริย์ผู้ทรงเดชาอานุภาพยิ่งใหญ่อีกพระองค์หนึ่ง ทรงจัดระเบียบสังคมใหม่ขึ้นในดินแดนภาคกลางของประเทศไทย แผ่ขยายกว้างไกลถึงตอนใต้ของประเทศจีน ดังมีข้อความว่า
เมื่อพระพุทธศักราช 1002 ปี จุลศักราช 10 ปี ระกา สัมฤทธิศก พระยากาฬวรรณดิศราช ราชบุตรของพระยากกากะพัตร ได้เสวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร จึงให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพลไปสร้างเมืองละโว้ แล้วพระยากาฬวรรณดิศราชให้พระยาทั้งหลายไปตั้งเมืองอยู่ทุกแห่งและขุนนางขึ้นไปถึงเมืองทวารบุรี เมืองสัตนาหะ เมืออเส เมืองโกสัมพี…..”
ศาสตราจารย์มานิต วัลลิโภดม ได้ศึกษาตรวจสอบตำนานพงศารวดารเหนือ ให้ความเห็นว่า พระยาสักรดำมหาราชาธิราชกับพระยากากะพัตรนั้น เป็นกษัตริย์องค์เดียวกัน แต่ตัวเลขในพงศาวดารเหนืออาจคัดลอกกันมาเลอะเลือน พยายามร่นเวลาขึ้นไปหาพุทธกาลจนเกินไป เอาแน่นอนไม่ได้ ส่วนตัวเลขจุลศักราชลงรอยกับปีนักษัตร เรื่องราวสมัยพระยากาฬวรรณดิศราชสร้างเมืองละโว้ขึ้นตรงกับ พ.ศ. 1191 พบร่องรอยทางด้านโบราณคดีหลายประการที่วัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี ส่วนรายชื่อเมืองสัตนาหะ สันนิษฐานว่าหมายถึง เมืองหลวงพระบางหรือเมืองชวาเมืองอเส อาจตั้งอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา เมืองโกสัมพี เชื่อกันว่าหมายถึงเมืองแสนหวีในรัฐฉาน ประเทศพม่า เมืองทวารบุรียังค้นหาไม่พบ นอกจากนั้นตำนานพงศาวดารเหนือยังกล่าวถึงการจัดระเบียบสังคมและบูรณาการบ้านเมืองต่อไปว่า
จนพุทธศักราช ล่วงได้ 1015 พรรษา จุลศักราช 17 ปีมะโรงสัปตศก พระยากาฬวรรณดิศราชกลับขึ้นไปทำนุบำรุงเมืองนาเคทรแล้วกลับลงมาเมืองสวางคบุรี จึงอาราธนาพระรากขวัญกับพระบรมธาตุกับข้อพระกรของพระพุทธเจ้าที่บรรจุไว้ในพระเจดีย์แต่ครั้งพระอานนท์และพระอนุรุทธเถรเจ้ากับพระยาศรีธรรมโศกราชท่านชุมนุมกันบรรจุไว้แต่ครั้งก่อนนั้น ลงมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์เมืองละโว้ สิ้น 2 ปี พระองค์สวรรคต”
เรื่องราวดังกล่าวนี้เป็นประวัติศาสตร์การบูรณาการเมืองโยนกเชียงแสนขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 1198 ภายหลังจากถูกกองทัพกัมพูชายึดครองอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมากระแสน้ำพัดบ้านเมืองจมหายไปในแม่น้ำโขง พวกขอมเมืองโพธิสารหลวงถูกตีโต้ถอยกลับไป พระยากาฬวรรณดิศราชจึงขึ้นไปสร้างบ้านเมือง แต่ตั้งให้
“ปู่เจ้าลาวจก” เป็นกษัตริย์ปกครอง อันเป็นพระราชประวัติของกษัตริย์อาณาจักรล้านนาไทยสมัยต่อมา หลักฐานอันสับสนแต่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างบ้านเมืองในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากับชนชาวพื้นเมืองในภาคเหนือของประเทศไทย ตลอดจนชาวพื้นเมืองในประเทศลาว มีความผูกพันอย่างใกล้ชิดภายใต้ศิลปวัฒนธรรมเดียวกันมาช้านาน ผสมผสานถ่ายเทความสมานฉันท์ในฐานะบ้านพี่เมืองน้องกันมาอย่างลึกซึ้ง แม้ว่าแตกต่างกันในด้านเผ่าพันธุ์ก็ตาม แต่การสืบสวนค้นหาอำนาจทางการเมืองของอาณาจักรทวารวดีเพื่อทราบถึงอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า อาจเกิดจากการจัดระเบียบสังคมใหม่ในสมัยพระยาสักรดำมหาราชาธิราชและพระยากาฬวรรณดิศราช เมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 11 อันเป็นศิลปวัฒนธรรมใหม่ แสดงออกถึงการนับการนับถือศาสนาพุทธนิกายหินยาน และการสร้างศิลปกรรมโดยลอกเลียนแบบศิลปะสมัยคุปตะที่รุ่งเรืองอยู่ในประเทศอินเดียเรียกกันว่า “ศิลปะทวารวดี” นั้นเป็นของชนชาติมอญหรือชนชาติใด
ศาสตราจารย์มานิต วัลลิโภดม ได้ศึกษาจารึกภาษาสันสกฤต ตัวอักษรปัลลวะที่ฐานพระพุทธรูปศิลาปางประทานพร ศิลปะสมัยทวารวดีพบที่วัดมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี มีข้อความว่า
“นายก อารชวะ ผู้เป็นอธิบดีแห่งเมืองตงคุระ ทรงเป็นราชโอรสของพระราชาแห่งนครศามพูกะ ได้สร้างรูปพระมุนีองค์นี้”
ท่านได้ตั้งข้อสังเกตุและชี้ให้เห็นถึงถ้อยคำอันน่าสนใจของคำว่า“นายก” และ“อธิบดี” ที่ฐานพระพุทธรูปองค์นั้น พร้อมกับอธิบายให้ทราบว่า เป็นตำแหน่งทางการเมืองการปกครองของ อาณาจักร ชื่อ-ถู-กวั่ว
ซึ่งราชทูตเสียง-จุ่น เขียนไว้ในจดหมายเหตุเมื่อ พ.ศ. 1150 ที่เรียกว่า นา-ยะ-เกีย กับ โป-ติ อันหมายถึง
ตำแหน่งรัชทายาทของอาณาจักรตามพรลิงค์ ประการหนึ่ง ตำแหน่งเจ้าเมือง ผู้ปกครองหัวเมืองต่างๆ อีกประการหนึ่ง ส่วนคำว่า โป-ติ อันหมายถึง ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานประจำเมืองต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กรมการเมือง ประการหนึ่งแปลว่า ผู้มีอำนาจเป็นใหญ่ในบ้านเมือง อีกประการหนึ่ง แม้ว่า “นายกอารชวะ” ผู้มีตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง “เมืองตงคุระ” อาจมีฐานะเพียงหัวเมืองขนาดเล็ก แต่จารึกดังกล่าวได้บอกให้ทราบถึงการจัดรูปแบบการเมืองการปกครองในภาคกลางของประเทศไทย เหมือนกับบ้านเมืองในคาบสมุทรทางภาคใต้ และเป็นรัฐที่นับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลานั้นอิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งเป็นรัฐที่นับถือศาสนาพราหมณ์ ได้หมดสิ้นไปจากสิ้นไปจากบริเวณตอนกลางของคาบสมุทรอินโดจีนแล้ว
กระแสการเมืองการปกครองและคลื่นวัฒนธรรมแบบใหม่ ได้หลั่งไหลเข้าไปมีอิทธิพลอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน ซึ่งรู้จักในนาม “ศิลปวัฒนธรรมทวารวดี” โดยมีศูนย์กลางความเคลื่อนไหวอยู่ที่เมืองลพบุรีและเมืองสวางบุรี แล้วแผ่ขยายถ่ายเทระบบการเมืองการปกครองและศิลปวัฒนธรรมใหม่ขึ้นไปทางเหนือถึงเมืองแสนหวี ในแคว้นสิบสองปันนาเมืองหลวงพระบาง ในประเทศลาว ดังปรากฏเรื่องราวอยู่ในตำนานพงศาวดารเหนือ ซึ่งมีลักษณะขัดแย้งกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในดินแดนประเทศไทย ล้วนบ่งบอกให้สันนิษฐานว่า“อิทธิพลคลื่นวัฒนธรรมใหม่” อันปรากฏรูปธรรมอยู่ใน “ศิลปะทวารวดี” คือ การนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานหรือลัทธิเถรวาท แสดงออกทางรูปเคารพของ“พระพุทธรูป” ตลอดจน “ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม” โดยลอกเลียนแบบมาจาก“ศิลปะสมัยคุปตะ” ที่รุ่งเรืองแพร่หลายอยู่ในประเทศอินเดียยุคนั้น
นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี ผู้มีความรอบรู้เรื่องราวในอดีตของดินแดนคาบสมุทรทางภาคใต้ ยังได้ร่วมกับศาสตราจารย์จอง บัวเซอร์ลิเย เดินทางไปศึกษาแหล่งอารยธรรมเก่าแก่บริเวณควนสราญรมย์หลังสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตาปีตอนล่าง ชี้ให้เห็นถึงศิลปโบราณวัตถุสกุลช่างทวารวดีทางภาคใต้ ที่มีลักษณะแตกต่างกับศิลปะสกุลช่างทวารวดีทางภาคใต้ ที่มีลักษณะแตกต่างกับศิลปะสกุลช่างทวารวดีในภาคกลางหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขุดค้นใต้ดินเพื่อศึกษารากฐานโบราณสถานเก่าแก่บริเวณนั้นพบว่า ระบบการเรียงอิฐ แบบการก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม ขนาดของอิฐที่ใช้ ตลอดจนลวดลายปูนปั้น คล้ายคลึงกับโบราณสถานสมัยทวารวดีทางภาคกลางแตกต่างกันแต่เพียงแผ่นอิฐที่ทำขึ้นในภาคใต้ไม่ผสมแกลบเหมือนในภาคกลางเท่านั้น ท่านจึงสรุปความเห็นยืนยันว่า ในดินแดนทักษิณรัฐได้สร้างสรรค์โบราณสถาน โบราณวัตถุ แบบเดียวกับศิลปกรรมสมัยทวารวดีทางภาคกลางแน่นอน แต่ถ้าไม่พิจารณาให้รอบคอบอาจสำคัญผิดว่าเป็นศิลปะสกุลช่างศรีวิชัย
น. ณ ปากน้ำ นักโบราณคดีผู้มีผลงานทางวิชาการมากมาย นอกจากเป็นผู้เสนอข้อมูลใหม่ อธิบายให้ทราบว่า การสร้างพระพุทธรูปซึ่งแต่เดิมเชื่อกันว่าทำขึ้นในแคว้นคันธารราฐตั้งแต่พระเจ้ามิลินท์นั้น บัดนี้เป็นที่ยุติกันแล้วว่า การสร้างพระพุทธรูปเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้ากนิษกะเป็นปฐมแล้ว ท่านยังได้เดินทางไปศึกษาศิลปอินเดีย ถ่ายภาพศิลปะสมัยคุปตะในพิพิธภัณฑ์ของประเทศนั้นไว้ทุกชิ้น และพยายามสืบสานงานค้นคว้าศิลปกรรมทางภาคใต้ เสนอบทความเรื่อง“ศิลปกรรมเก่าแก่ที่สุราษฎร์ธานี” ไว้ว่า
ศิลปะแบบคุปตะของชาวอินเดียระหว่างพุทธศตวรรษที่ 9-11 ได้เผยแพร่เข้ามารุ่งเรืองอยู่ในดินแดนภาคใต้ ชาวพื้นเมืองในแถบนั้นนำวัสดุในท้องถิ่นมาประติมากรรมเป็นเทวรูปพระวิษณุ พระพุทธรูป ลวดลายเครื่องประดับ สังเกตเห็นได้ชัดเจนว่า พยายามลอกเลียนศิลปะอินเดียสมัยนั้นได้อย่างใกล้เคียง ทั้งพัฒนาฝีมือกันอย่างต่อเนื่องสืบสานกันไปไม่ขาดสาย แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นบ่อเกิดของอารยธรรมสำคัญของ“ศูนย์กลางอำนาจทางการเมือง” ซึ่งสันนิษฐานว่า อาจเป็นที่ตั้งของ “เมืองพาน -พาน ” หรือ “เมืองหลั่ง-ยะ-สู ” ที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุจีนสมัยพุทธศตวรรษที่ 11 ศิลปกรรมเก่าแก่เหล่านั้นสร้างขึ้นจากฝีมือของช่างชาวแหลมทอง มิใช่นำมาจากอินเดีย มีลักษณะคล้ายคลึงกับศิลปะสมัยทวารวดีในภาคกลาง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เขียนหนังสือ “ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย
--------------------------------------
จดหมายเหตุราชทูตเสียง-จุ่น กล่าวถึงประวัติศาสตร์อารยธรรมของอาณาจักรตามพรลิงค์ที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในสมัยนั้นต่อไปว่า
--------------------------------------
พระราชวังมีประตู3 ชั้น แต่ละชั้นห่างกันราว 100 ก้าว แต่ละประตูมีภาพเขียนเป็นรูปเทวดาเหาะ ภาพพระโพธิสัตว์และเทพอื่นๆ ตามประตูแขวนดอกไม้ทอง ระฆังเล็ก และ มีหญิงหลายสิบคนเป็นพนักงานประโคมดนตรี ถือดอกไม้ทองคำและเครื่องประดับอื่นๆ มีชาย 4 คน แต่งกายเป็นเทวดา (ชิน-กัง) เหมือนที่ยืนเฝ้าอยู่สี่ด้านของพระเจดีย์ในพุทธศาสนา ยืนเฝ้าประตูพระราชวัง แต่พวกทหารที่เฝ้าอยู่นอกประตูวัง ถืออาวุธสำหรับรบชนิดต่างๆ พวกเฝ้าประตูข้างในถือผ้าขาวยืนอยู่ตามทางเดินเก็บดอกไม้ใส่ถุงสีขาว อาคารต่างๆ ในพระราชวัง ประกอบด้วยพระที่นั่งติดต่อกันไป มีประตูอยู่แต่ทางทิศเหนือ ในท้องพระโรง พระเจ้าแผ่นดินประทับบนราชบัลลังก์ 3 ชั้น หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ แต่งพระองค์ด้วยผ้าสีกุหลาบ มีรัดเกล้าเป็นดอกไม้ทองคำ สร้อยพระศอประดับเพชรมีนางพนักงานเฝ้าทั้งซ้ายทั้งขวาข้างละ 4 คน และทหารรักษาพระองค์กว่า 100 คน
ด้านหลังราชบัลลังก์ มีแท่นบูชาทำด้วยไม้แก่นบุทองคำ บุเงินประกอบขึ้นด้วยไม้หอมถึง 5 ชนิด ด้านหลังของแท่นบูชานี้มีโคมไฟทองคำแขวนอยู่ 2 ข้าง มีกระจกเงาข้างละบาน หน้ากระจกเงาวางหม้อน้ำโลหะไว้ ข้างหน้าหม้อน้ำมีที่เผาของหอมทำด้วยทองคำ ข้างหน้าของสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดมีวัวทองคำนอนอยู่ ข้างหน้าวัวทองคำแขวนผ้าปักด้วยเพชรพลอยและพัดอย่างสวยงามอยู่ทั้งสองข้าง
ข้อความในเอกสารประวัติศาสตร์จีน แสดงรายละเอียดให้เห็นถึงการจัดระบบ การเมือง การปกครอง ของอาณาจักรโบราณในสมัยกลางพุทธศตวรรษที่ 11 ตรงกับช่วงปลายรัชกาลพระเจ้ามเหนทรวรมันกำลังแผ่ขยายอำนาจอาณาจักรกัมพูชา เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่า อาณาจักรตามพรลิงค์มีอำนาจทางการเมือง การทหาร ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าแระเทศใดในคาบสมุทรอินโดจีน และบ้านเมืองต่างๆ ในประเทศไทยยังคงเป็นอิสระอยู่มีความสำคัญในระดับที่ประเทศจีนจำเป็นต้องส่งคณะทูตเดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีก่อน ราชทูตเสียง-จุ่น ได้เล่ารายละเอียดในด้านสังคมอย่างน่าสนใจว่า
เป็นธรรมเนียมของคนทุกคนในประเทศนี้ ทั้งหญิงชายเจาะรูที่แผ่นหูและตัดผม ทุกคนนิยมทาตัวด้วยน้ำมันหอม โดยทั่วไปคนนับถือบูชาพระพุทธเจ้า แต่ก็ให้ความเคารพแก่พวกพราหมณ์เป็นอย่างมาก ผู้หญิงมังเกล้าผมไว้แค่ต้นคอ ทั้งหญิงทั้งชายนุ่งด้วยผ้าสีแดง และสีเรียบๆแม้ครอบครัวชั้นสูงจะมีอิสระเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆ แต่จะมีล็อกเกตตาบทองใช้ต่อเมื่อได้รับราชานุญาติ ในการจัดพิธีแต่งงาน เขาจะเลือกหาวันที่เป็นมงคลวันหนึ่งในระยะ 5 วันก่อนแต่งงาน ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะมีการจัดงานเลี้ยงดูญาติมิตร ผู้เป็นบิดาจะจับมือเจ้าสาวส่งให้แก่ผู้เป็นเขยของเขาในวันแต่งงาน ในวันที่ 7 พิธีต่างๆ จึงจบลง คู่บ่าวสาวก็เป็นสามีภรรยากันตามประเพณี ภายหลังการแต่งงานมีการแบ่งทรัพย์สมบัติให้แก่ครอบครัวใหม่ไปสร้างบ้านแยกครอบครัวออกไป ยกเว้นบุตรคนสุดท้อง จะต้องอยู่กับบิดามารดา เมื่อบิดามารดาหรือญาติพี่น้องถึงแก่กรรม ลูกหลานก็จะโกนศีรษะ นุ่งผ้าขาว เขาสร้างโรงขนาดเล็กทำด้วยลำไม้ไผ่ มีเพดานกองไม้ฟืนไว้ที่ศพ จุดของหอม ประดังธงทิว เป่าสังข์ ตีกลอง แล้วจุดไฟที่กองฟืน ภายหลังจึงกวาดกองไฟลงในน้ำ ทั้งคนชั้นสูงและคนธรรมดาเผาศพด้วยวิธีนี้ แต่การปลงศพพระเจ้าแผ่นดิน พระอัฐิที่เหลือจากกองไฟจะนำไปรักษาไว้ในโกศทองทำ อีกส่วนหนึ่งบรรจุไว้ในวัดแห่งหนึ่ง
ส่วนพิธีการทางการทูตเกี่ยวกับการเข้าเฝ้าฯ ถวายพระราชสาสน์ และการจัดเลี้ยงรับรอง
คณะทูตของประเทศชื่อ-ถู-กวั่ว ราชทูตเสียง-จุ่น ได้จดบันทึกรายละเอียดถึงพิธีการต้อนรับอย่างมโหฬารในสมัยนั้นไว้ว่า
พระเจ้ากรุงชื่อ-ถู-กวั่ว ได้ส่งพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ซึ่งดำรงตำแหน่งนา-ยะ-เกีย มารับ
คณะราชทูตด้วยพิธีอันเอิกเกริก ในขั้นต้อนพระองค์ส่งพนักงานนำถาดทองคำบรรจุดอกไม้หอม กระจกเงา คีมทองคำ หม้อน้ำมันหอม 2 หม้อ น้ำหอมอี 8 หม้อ ผ้าขาว 4 ผืน เพื่อให้ราชทูตอาบน้ำและแต่งกายใหม่เพื่อเข้าเฝ้าฯ ในเวลาบ่ายวันเดียวกัน ท่านนา-ยะ-เกียส่งช้างมา 2 เชือก เชือกหนึ่งมีผ้าคาดเพดานประดับขนนกยูง อีกเชื่อกหนึ่งมีพานมีลวดลายเป็นดอกไม้ทองสำหรับอัญเชิญพระราชสาสน์ มีหนักงานหญิงชาย 100 คน เป่าสังข์ ตีกลอง และมีพราหมณ์ 2 ท่านเดินนำหน้านำคณะทูตเข้าไปยังพระราชวัง เพื่อถวายพระราชสาสน์ในที่ออกขุนนาง ซึ่งมีบรรดาขุนนางน้อยใหญ่นั่งอยู่กับพื้น เมื่อราชทูตอ่านพระราชสาสน์จบแล้ว มีผู้มาเชิญให้ราชทูตและคณะนั่งลง ดนตรีประโคมครั้นดนตรีบรรเลงจบแล้ว เสร็จสิ้นพิธีการถวายพระราชสาสน์ ราชทูตและคณะกลับที่พักรับรอง
ราชทูตเสียง-จุ่น เล่าถึงพิธีการเลี้ยงรับรองคณะทูต ซึ่งพราหมณ์ประจำราชสำนักจัดขึ้นโดย
เป็นทางการไว้ว่า
พราหมณ์หลายคนได้จัดอาหารเลี้ยงคณะทูต โดยเอาใบไม้มาเย็บติดกันเป็นรูปกระทงขนา
ใหญ่ กว้างถึงกระทงละ 10 ฟุต สำหรับใช้เป็นภาชนะใส่อาหาร หัวหน้าพราหมณ์ร้องกล่าวเชิญคณะทูตด้วยความยกย่องว่า ท่านขุนนางของประเทศที่ยิ่งใหญ่ แม้ว่าพวกเราจะมิได้เป็นขุนนางของประเทศชื่อ-ถู-กวั่วก็ตาม แต่ใคร่ขอเชิญให้ท่านร่วมรับประทานอาหารอันต่ำต้อยที่พวกเราได้จัดมาเพื่อเป็นเกียรติ และแสดงความยินดีในกรต้อนรับประเทศที่ยิ่งใหญ่ของท่าน
ส่วนพิธีการเลี้ยงรับรองทางการทูตอย่างเป็นทางการนั้น ราชสำนักชื่อ-ถู-กวั่ว ได้จัดขึ้นภาย
หลังการเลี้ยงรับรองของคณะพราหมณ์ มีข้อความตอนหนึ่งว่า
อีกสามวันต่อมา คณะทูตได้รับเชิญไปในพระราชพิธีเลี้ยงต้อนรับคณะทูตด้วยพิธีการเอิกเกริก
มีขบวนแห่เหนเหมือนกับการเข้าเฝ้าฯในครั้งแรก ประกอบด้วยกองทหารเกียรติยศเดินนำหน้าเข้าไปในบริเวณที่ประทับสถานที่จัดเลี้ยงสร้างเป็นยกพื้นขึ้น 2 ที่ บนยกพื้นนั้นมีกระทงทำด้วยใบไม้เป็นจำนวนมาก แต่ละกระทงกว้างยาวถึง 15 ฟุต ประกอบด้วยอาหารต่างๆ จำนวนมาก เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อปลา เนื้อเต่าทะเล เนื้อเต่าน้ำจืด รวมแล้วตั้ง 100 ชนิด ส่วนประเภทขนมมีสีต่างๆ 4 สี คือ สีเหลือง สีขาว สีม่วง และสีแดง พระเจ้ากรุงชื่อ-ถู-กวั่ว รับสั่งให้ราชทูตขึ้นไปนั่งบนที่ยกพื้นสูงซึ่งจัดไว้สำหรับร่วมเสวยพระกระยาหารร่วมกับพระองค์ส่วนพวกขุนนางชั้นผู้ใหญ่นั่งกันบนพื้น แต่ละคนมีขันทองคำประจำตัวไว้สำหรับดื่มสุรา พนักงานหญิงคอยบรรเลงดนตรีขับ
กล่อมอยู่โดยรอบจนเสร็จสิ้นพิธีการ
ราชทูตเสียง-จุ่น ได้จดบันทึกถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศชื่อ-ถู-กวั่ว ในครั้งนั้นไว้ต่อไปว่า
พระเจ้ากรุงชื่อ-ถู-กวั่ว ทรงโปรดแต่งตั้งให้ท่านนา-ยะ-เกียเป็นหัวหน้าคณะทูต เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักสุยเป็นการตอบแทน โดยเดินทางไปพร้อมคณะทูตจีนในตอนขากลับ อัญเชิญพระราชสาสน์จารึกในแผ่นทองคำบรรจุกล่องทองคำ และเครื่องราชบรรณาการประกอบด้วย มงกุฎทองคำทำเป็นรูปดอกชบา การบูร สิ่งของพื้นเมืองอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อได้เวลา พวกพราหมณ์ถือดอกไม้ เป่าสังข์ ตีกลอง แห่เหนพระราชสาสน์ไปส่งลงเรือ ขบวนเรือคณะทูตเดินทางออกสู่ทะเลใหญ่ แล่นใบไปในท้องทะเลประมาณ 10 วันก็ถึงภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศลิน-ยี่(เวียดนาม) อันประกอบด้วยทิวภูเขาสูง ราชทูตมองเห็นฝูงปลามีสีเขียวเหมือนใบไม้บินไปเหนือน้ำฝูงหนึ่ง เรือแล่นเลียบชายฝั่งขึ้นไปทางทิศเหนือ เดินทางไปถึงเมืองเกียวจี่ในฤดูใบไม้ผลิเป็นปีที่6 แห่งราชกาล ท่านนา-ยะ-เกีย ได้เข้าเฝ้าฯพระจักรพรรดิ พระองค์ยินดีให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ทรงพระราชทานสิ่งของกว่า 200 ชนิด เป็นการตอบแทนแก่ท่านราชทูตและคณะ พร้อมทั้งพระราชทานตำแหน่งเข้าเฝ้าฯ ได้ทุกโอกาสให้แก่ท่านนา-ยะ-เกีย
หลักฐานความสัมพันธ์ทางการทูตครั้งสำคัญและเก่าแก่ถึงสมัยกลางพุทธศตวรรษที่ 11 อันเป็นช่วงรอยต่อทางประวัติศาสตร์ระหว่างสมัยสุวรรณภูมิตอนปลายกับสมัยทวารดีตอนต้น ถูกมองข้ามและขาดหายไปจากประวัติศาสตร์ชาติไทย ชื่อเสียงที่เคยโด่งดังลือลั่นอยู่อยู่ในพงศาวดารจีนว่า ประเทศชื่อ-ถู-กวั่ว หรืออาณาจักรตามพรลิงค์ ซึ่งแปลว่า ประเทศดินแดง ถูกลบไปจนหายไปจากประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ อาจเกิดจากอิทธิพลของข้อเขียนซึ่งศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ กล่าวถึงชนชาติต่างๆ ในแหลมอินโดจีนสมัยนั้นว่า
“อาณาจักฟูนันได้สูญสิ้นไป กลายเป็นอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในตอนแรกยังรวมตัวกันอยู่ในที่
ราบลุ่มทะเลสาบสูงโคราชและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตอนกลาง อันเป็นการกระทบกระเทือนต่ออาณาจักรทวารวดีในขณะนั้น ซึ่งพวกมอญยังคงรักษาสถานะทางการเมืองของตนไว้ได้เฉพาะในบริเวณปากแม่น้ำพม่าและในบริเวณปากแม่น้ำพม่าและในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนเหนือเท่านั้น”
นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสผู้นี้ ยังได้แสดงความเห็นชี้นำต่อไปว่า
“ประเทศที่รับเอาอารยธรรมอินเดียนั้น จารึกต่างๆ ที่เคยอาศัยเป็นพื้นฐานข้อมูลส่วนใหญ่ของศตวรรษก่อนๆ ตกมาในระยะนี้แทบจะไม่มีจารึกแบบเดียวกันนั้นอยู่เลย และผลงานทางประวัติศาสตร์ของฝ่ายจีนซึ่งเป็นขุมข่าวสารอีกประเภทหนึ่ง ในยุคหลักศตวรรษที่ 18 ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างครบถ้วนบริบูรณ์เท่าที่เคยใช้มาในยุคก่อนหน้านั้น...”
ท่านจึงกล่าวสรุปประวัติศาสตร์ประเทศสยามไว้ว่า
“ชาวไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือสามารถสลัดแยกจากการครอบงำของเขมร แล้วสถาปนาราชอาณาจักรไทยอิสระขึ้นเป็นแห่งแรกที่กรุงสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหง ราชโอรสองค์ที่ 3 และเป็นรัชทายาทองค์ที่ 2 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงเป็นผู้ทำให้รัฐใหม่นี้เจริญถึงจุดสุดยอดแห่งอำนาจ.…ในยุคนี้เองคือ ในพ.ศ. 1825 กรุงสุโขทัยได้มีความสัมพันธ์เป็นครั้งแรกกับประเทศจีน เราไม่ทราบว่าพระบรมราชโองการของจักรพรรดิ เมื่อ พ.ศ. 1842 ที่มีไปยังกษัตริย์แห่งเสียม(สยาม) นี้จะได้ผลหรือไม่....”
ความเห็นของนักประวัติศาสตร์ต่างชาติข้างต้นได้สรุปตีความเหมารวมในลักษณะซุกซ่อนปกปิดข้อเท็จจริงทางวิชาการไว้อย่างแนบเนียนจนสามารถสร้างความเชื่อขึ้นอย่างมั่นคงว่า“ชนชาติสยาม” และ “ชนชาติไทย” เป็นชนเผ่าพันธุ์เดียวกันที่เริ่มต้นสร้างประวัติศาสตร์ของตนขึ้นทางภาคเหนือเมื่อราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 พร้อมทั้งพยายามอธิบายให้ชาวโลกเชื่อว่า อาณาจักรฟูนัน หมายถึงอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งมีอำนาจทางการเมืองเหนือดินแดนในประเทศไทยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11 ก่อนหน้านั้นประวัติศาสตร์จีนมิได้เอ่ยถึงชื่อของ “ราชอาณาจักรสยาม” หรือ “ชนชาติสยาม” ไว้เลย ชนเผ่าเร่ร่อนดังกล่าวนี้ เพิ่งปรากฏโฉมหน้าขึ้นในแหลมอินโดจีน แย่งชิงดินแดนของชนชาติมอญและชนชาติเขมร สถาปนาราชอาณาจักรไทยสืบลงมาจนถึงปัจจุบัน
ศาสตราจารย์มานิต วัลลิโภดม และนักประวัติศาสตร์ไทยอีกหลายท่านที่ไม่เห็นด้วยกับความเห็นรวบยอดดังกล่าว พยายามให้ความสำคัญต่อหลักฐานทางโบราณคดีทางภาคใต้ ตลอดจนเอกสารประวัติศาสตร์จีน ตำนานพงศาวดารลังกา จดหมายเหตุนักเดินเรือชาวอาหรับ พอข้อมูลใหม่หลายประการเกี่ยวกับยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เกิดขี้นในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยปลายพุทธศตวรรษที่ 11 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประวัติศาสตร์ประเทศชื่อ-ถู-กวั่ว ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาศึกษาตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน จนเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันนี้ว่า หมายถึง“อาณาจักรตามพรลิงค์โบราณ” ที่ยังคงมีอำนาจทางการเมืองการทหารอยู่ในคาบสมุทรทางภาคใต้ อาณาจักรศาสนาพุทธแห่งนี้มิได้พ่ายแพ้หรือถูกยึดครองจากกองทัพเกรียงไกลของพระเจ้าอีสานวรมันแห่งอาณาจักรกัมพูชาแต่อย่างใด ดังปรากฏหลักฐานชัดเจนอยู่ในจดหมายเหตุของราชทูตเสียง-จุ่นดังกล่าวมาแล้ว
--------------------------------
นอกจากนั้น ยังอ้างถึงจดหมายเหตุของภิกษุนักจากริกจีน ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังอีกรูปหนึ่งมีชื่อว่า หลวงจีนอี้-จิง ซึ่งเคยเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาในประเทศอินเดียโดยทางเรือทั้งขาไปและขากลับผ่านทะเลจีนใต้ระหว่าง พ.ศ. 1214 ถึง พ.ศ. 1236 ท่านได้เดินทางไปยังแคว้นสมทัตหรือบังกลาเทศ เหมือนกับเมื่อครั้งหลวงจีนยวน-ฉ่าง หรือ พระถังซำจั๋งเคยไปเยือนเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 11 ท่านจดบันทึกถึงดินแดนสุวรรณภูมิไว้ว่า
- ดินแดนทางตะวันออกของมหาวิทยาลัยนาลันทาไกลออกไป 500 โยชน์ เรียกว่า ปัจระประเทศฝ่ายตะวันออก
- ณ ที่สุดถึงเทือกภูเขาดำใหญ่ซึ่งอาจเป็นพรมแดนฝ่ายใต้ของตะรุฟัน (ประเทศทิเบต)
- กล่าวกันว่าเทือกเขานี้ (ภูเขาหิมาลัย) อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลจก(มณฑลเสฉวน) เราอาจเดินทางไปถึงภูเขานี้ได้ในเวลากว่า 1 เดือน
- ทางใต้จากนี้ไป มีบ้านเมืองจดทะเลเรียกว่า ประเทศ ซิด-หลี-ซ่า-ต้า-ล้อ (อาณาจักรศรีเกษตร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศพม่า)
- ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศนี้เป็นประเทศหลั่ง-เจีย-สู (อาณาจักรคามลังกา)
- ต่อมาทางตะวันออกคือ ประเทศ ตู-โห-โป-ติ (อาณาจักรทวารวดี)
- ต่อไปทางตะวันออกในที่สุดถึง ประเทศลิน-ยี่ (อาณาจักรจามปา ในประเทศเวียดนาม)
พลเมืองของประเทศเหล่านี้นับถือพระรัตนตรัยอย่างดี...”
ข้อความในบันทึกของ หลวงจีนอี้-จิง มีข้อสังเกตุที่แตกต่างไปจากจดหมายเหตุของ หลวงจีนยวน-ฉ่าง คือ อาณาจักรอีสานปุระ ได้ขาดหายไปโดยไม่มีผู้ใดทราบสาเหตุที่แน่ชัด นอกจากปรากฏข้อความในพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ถังกล่าวไว้แต่เพียงว่า อาณาจักรอีสานปุระได้แตกแยกออกเป็น 2แคว้น เรียกว่า แคว้นเจนละน้ำ อันเป็นหลักฐานยืนยันว่า อาณาจักรกัมพูชาได้แตกสลายไปอย่างลึกลับโดยไม่ทราบต้นสายปลายเหตุเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 11 ภายหลังจากประเทศจีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างมั่นคงกับอาณาจักรตามพรลิงค์ เมื่อ พ.ศ. 1150 อาณาจักรจามปาถูกกองทัพจีนโจมตีและบังคับให้อยู่ภายใต้อำนาจทางการเมืองของประเทศจีน ส่วนอาณาจักรศรีเกษตรคงมีอำนาจอยู่เฉพาะในดินแดนทางภาคเหนือของประเทศพม่า พื้นที่ปากแม่น้ำอิรวดีตามชายฝั่งทะเลทางตอนใต้มีหลักฐานว่า ชนชาติมอญตั้งหลักแหล่งอาศัยอยู่ทั่วไป แต่ไม่ปรากฏร่องรอยอะไรที่แสดงให้เห็นว่าชนชาติมอญมีอิทธิพลทางการเมืองและการทหารในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างฉับพลันบนคาบสมุทรอินโดจีนประมาณ พ.ศ. 1181 เพราะหนังสือ “ตำนานพงศาวดารเหนือ” กล่าวถึงการจัดระเบียบสังคมใหม่ขึ้นในดินแดนประเทศไทยไว้อย่างน่าสนใจว่า
ศุภมัสดุ พุทธศักราช 306 ปีกุน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงกษัตริย์เมืองตักกะสิลามหานคร ทรงพระนามพระยาสักรดำมหาราชาธิราชทรงอานุภาพมหิทธิฤทธิ์เลิศล้ำกว่ากษัตริย์ทั้งหลาย....มีพระราชโองการสั่งแก่อดีตพราหมณ์ปุโรหิตว่า ตั้งแต่วันนี้ไปจนสิ้นพระพุทธศาสนา ให้ตั้งจุลศักราชไว้สำหรับกรุงกษัตริย์สืบไปเมื่อหน้า จึงให้ตั้ง ณ วันพฤหัสบดี เดือน 5 แรม 1 ค่ำ จุลศักราชปีชวด เอกศก เมื่อมหาสงกรานต์ไปแล้ว จึงให้ยกขึ้นเป็นจุลศักราชวันเดือนปีใหม่……พระองค์ให้ตั้งพระราชกำหนดจุลศักราชแล้ว พระองค์สวรรคตในปีนี้ เสวยราชสมบัติ 72 ปี จุลศักราชศก 1”
พระราชประวัติของพระยาสักรดำมหาราชาธิราช ผู้ประกาศตั้งปีจุลศักราชขึ้นในสมัยศิลาจารึก แต่หนังสือตำนานพงศาวดารเหนือเพิ่งเขียนขึ้นในชั้นหลัง นักประวัติศาสตร์สมัยเก่าคือพระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) ได้พยายามศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้ และอธิบายขยายความไว้ว่าศักราช ปี เดือน ในตำนานต่าง ๆมักผิดพลาดคลาดเคลื่อนกันมากเพราะสังเกตเห็นว่า ต้นฉบับตำนาน เป็นหนังสือที่แต่งขึ้นในชั้นหลัง แต่ได้คำนวณศักราชถอยหลังไป ทั้งวิธีการคิดคำนวณ วัน เดือน ในรอบปี ของ “ชาวไทยเหนือ” หรือ “ลาว” และ “ชาวไทยใหญ่” หรือ “เงี้ยว” ใช้วิธีการนับอย่างจีน ทิเบต เป็นต้นว่า เดือน 5 ของภาคกลาง พวกไทยใหญ่หรือเงี้ยว นับเป็นเดือน 6 แต่ในมณฑลพายัพ นับเป็นเดือน 8 จึงไม่ตรงกัน
ท่านได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับคำว่า “ศักราช” อาจแปลความหมายได้เป็น 2 นัย คือ แปลว่า พระราชาของชาวศักกะ อย่างหนึ่ง แต่หากคำว่า “ศก” หมายถึงปี ก็อาจแปลว่า การนับปีที่พระเจ้าแผ่นดินดำรงราชย์ อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีแบบอย่างเป็นประเพณีอยู่หลายประการตามวัฒนธรรมอินเดียว ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวของพระราชาธิราชผู้มีชื่อเสียงในอดีต ทรงแผ่กฤษฏาภินิหารไปทั่วทวีป แล้วประกาศตั้งปีศักราชนั้นไว้เป็นอนุสาณ์ เช่น กาลียุคศักราช, วิกรมาทิตย์ศักราช,มหาศักราช เป็นต้น นอกจากนั้นวันดับขันธ์ของศาสดาสำคัญทางศาสนา บรรดาสาวกมักประกาศจัดตั้งปีศักราชไว้เป็นที่ระลึกถึง เช่น มหาวิระศักราช,พุทธศักราช แต่มีวิธีการคำนวณโดยยึดถือกาลียุคศักราชเป็นบรรทัดฐาน คือ พุทธศักราช ตั้งขึ้นในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อกาลียุคศักราชล่วงลงมาแล้วได้ 2559 ปี ต่อมาปี มหาศักราช กษัตริย์อินเดียประกาศตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราชล่วงหน้าได้ 621 ปี ภายหลังพระยาสักรดำมหาราชาธิราชทรงประกาศตั้งปีจุลศักราชขึ้นมหาศักราชล่วงหน้ามาได้ 560 ปี ตรงกับปีพุทธศักราช 1181
นักประวัติศาสตร์ผู้พยายามค้นหาความจริงในตำนานพงศาวดารโยนกท่านนี้ให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อความที่กล่าวว่า “ศุภมัสดุ พุทธศักราช 306 ปีกุน” พระยาสักรดำมหาราชาธิราชทรงทำพิธีตัดหรือลบศักราชแล้วประกาศตั้งปีจุลศักราชขึ้นใหม่นั้น เป็นวิธีการเขียนตำนานแบบโบราณเพื่อร่นเวลาขึ้นไปให้ทันสมัยพุทธกาลและพัวพันอยู่กับเรื่องพุทธพยากรณ์ว่าบ้านเมืองของตนพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับ หรือทำนายไว้ว่าต่อไปจะเจริญรุ่งเรือง เป็นแหล่งประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน แต่ใช้วิธีการคำนวณผิดหลักเกณฑ์ทั้งระบบสุริยคติและระบบจันทรคติ เพราะการ นับ วัน เดือน ปี ของประเทศอินเดียกับประเทศจีนแตกต่างกัน แต่เชื่อว่าในปี พ.ศ. 1181 นั้น พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเดชาอานุภาพยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ได้ประกาศตั้งปีจุลศักราชขึ้นในดินแดนแหลมอินโดจีนแน่นอนเพราะว่าประเทศต่าง ๆ ในแถบนี้ เป็นต้นว่า พม่า มอญ เขมร ลาว ไทย ต่างนิยมใช้ปีจุลศักราชสืบต่อมาจากปีมหาศักราช จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนในปัจจุบันจุลศักราชยังคงนิยมใช้กันอยู่ในวงการโหราศาสตร์เรียกว่าศักราชโหรา
แม้ว่าตำนานพงศาวดารไทยเหนือบางฉบับอ้างว่า พระยาสักรดำมหาราชาธิราชเป็นกษัตริย์พม่าผู้ครอบครองอาณาจักรพุกาม แต่เดิมอุปสมบทได้รับสมณศักดิ์เป็น “สังฆราชบุพโสรหัน”ลาเพศบรรพชิตออกมาชิงราชสมบัติ เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 19 แห่งราชวงศ์สมุทรฤทธิ์ เป็นผู้ประกาศตั้งจุลศักราชขึ้นเพื่อพุทธกาลล่วงมาได้ 1182 วัสสา กาลียุคศักราชล่วงได้ 3739 ปี ตำนานพงศาวดารเชียงแสนกล่าวว่า พุทธกาลล่วงได้ 622 พรรษา “พระยาตรีจักขุ” กรุงพุกามลบพุทธศักราช 622 เสีย ตั้งศักราชใหม่มาได้ 559 ปี จึงพระยาอนุรุทธรรมิกราชลบศักราชตรีจักขุ 559 เสีย ตั้งจุลศักราชใหม่ในปีกุนเป็นเอกศกนั้น นอกจากผู้แต่งตำนานใช้เกณฑ์ศักราชผิดแล้ว ยังทำให้เรื่องราวของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่สมัยนั้นหาข้อยุติแน่นอนไม่ได้ว่า เป็นชนชาติมอญหรือชนชาติพม่าหรือเป็นชนชาติใดกันแน่ เพราะขัดแย้งกับข้อความเรื่องเดียวกัน แต่ต่างเวลาเพียง 10 ปี กษัตริย์ผู้ทรงเดชาอานุภาพยิ่งใหญ่อีกพระองค์หนึ่ง ทรงจัดระเบียบสังคมใหม่ขึ้นในดินแดนภาคกลางของประเทศไทย แผ่ขยายกว้างไกลถึงตอนใต้ของประเทศจีน ดังมีข้อความว่า
เมื่อพระพุทธศักราช 1002 ปี จุลศักราช 10 ปี ระกา สัมฤทธิศก พระยากาฬวรรณดิศราช ราชบุตรของพระยากกากะพัตร ได้เสวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร จึงให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพลไปสร้างเมืองละโว้ แล้วพระยากาฬวรรณดิศราชให้พระยาทั้งหลายไปตั้งเมืองอยู่ทุกแห่งและขุนนางขึ้นไปถึงเมืองทวารบุรี เมืองสัตนาหะ เมืออเส เมืองโกสัมพี…..”
ศาสตราจารย์มานิต วัลลิโภดม ได้ศึกษาตรวจสอบตำนานพงศารวดารเหนือ ให้ความเห็นว่า พระยาสักรดำมหาราชาธิราชกับพระยากากะพัตรนั้น เป็นกษัตริย์องค์เดียวกัน แต่ตัวเลขในพงศาวดารเหนืออาจคัดลอกกันมาเลอะเลือน พยายามร่นเวลาขึ้นไปหาพุทธกาลจนเกินไป เอาแน่นอนไม่ได้ ส่วนตัวเลขจุลศักราชลงรอยกับปีนักษัตร เรื่องราวสมัยพระยากาฬวรรณดิศราชสร้างเมืองละโว้ขึ้นตรงกับ พ.ศ. 1191 พบร่องรอยทางด้านโบราณคดีหลายประการที่วัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี ส่วนรายชื่อเมืองสัตนาหะ สันนิษฐานว่าหมายถึง เมืองหลวงพระบางหรือเมืองชวาเมืองอเส อาจตั้งอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา เมืองโกสัมพี เชื่อกันว่าหมายถึงเมืองแสนหวีในรัฐฉาน ประเทศพม่า เมืองทวารบุรียังค้นหาไม่พบ นอกจากนั้นตำนานพงศาวดารเหนือยังกล่าวถึงการจัดระเบียบสังคมและบูรณาการบ้านเมืองต่อไปว่า
จนพุทธศักราช ล่วงได้ 1015 พรรษา จุลศักราช 17 ปีมะโรงสัปตศก พระยากาฬวรรณดิศราชกลับขึ้นไปทำนุบำรุงเมืองนาเคทรแล้วกลับลงมาเมืองสวางคบุรี จึงอาราธนาพระรากขวัญกับพระบรมธาตุกับข้อพระกรของพระพุทธเจ้าที่บรรจุไว้ในพระเจดีย์แต่ครั้งพระอานนท์และพระอนุรุทธเถรเจ้ากับพระยาศรีธรรมโศกราชท่านชุมนุมกันบรรจุไว้แต่ครั้งก่อนนั้น ลงมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์เมืองละโว้ สิ้น 2 ปี พระองค์สวรรคต”
เรื่องราวดังกล่าวนี้เป็นประวัติศาสตร์การบูรณาการเมืองโยนกเชียงแสนขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 1198 ภายหลังจากถูกกองทัพกัมพูชายึดครองอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมากระแสน้ำพัดบ้านเมืองจมหายไปในแม่น้ำโขง พวกขอมเมืองโพธิสารหลวงถูกตีโต้ถอยกลับไป พระยากาฬวรรณดิศราชจึงขึ้นไปสร้างบ้านเมือง แต่ตั้งให้
“ปู่เจ้าลาวจก” เป็นกษัตริย์ปกครอง อันเป็นพระราชประวัติของกษัตริย์อาณาจักรล้านนาไทยสมัยต่อมา หลักฐานอันสับสนแต่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างบ้านเมืองในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากับชนชาวพื้นเมืองในภาคเหนือของประเทศไทย ตลอดจนชาวพื้นเมืองในประเทศลาว มีความผูกพันอย่างใกล้ชิดภายใต้ศิลปวัฒนธรรมเดียวกันมาช้านาน ผสมผสานถ่ายเทความสมานฉันท์ในฐานะบ้านพี่เมืองน้องกันมาอย่างลึกซึ้ง แม้ว่าแตกต่างกันในด้านเผ่าพันธุ์ก็ตาม แต่การสืบสวนค้นหาอำนาจทางการเมืองของอาณาจักรทวารวดีเพื่อทราบถึงอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า อาจเกิดจากการจัดระเบียบสังคมใหม่ในสมัยพระยาสักรดำมหาราชาธิราชและพระยากาฬวรรณดิศราช เมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 11 อันเป็นศิลปวัฒนธรรมใหม่ แสดงออกถึงการนับการนับถือศาสนาพุทธนิกายหินยาน และการสร้างศิลปกรรมโดยลอกเลียนแบบศิลปะสมัยคุปตะที่รุ่งเรืองอยู่ในประเทศอินเดียเรียกกันว่า “ศิลปะทวารวดี” นั้นเป็นของชนชาติมอญหรือชนชาติใด
ศาสตราจารย์มานิต วัลลิโภดม ได้ศึกษาจารึกภาษาสันสกฤต ตัวอักษรปัลลวะที่ฐานพระพุทธรูปศิลาปางประทานพร ศิลปะสมัยทวารวดีพบที่วัดมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี มีข้อความว่า
“นายก อารชวะ ผู้เป็นอธิบดีแห่งเมืองตงคุระ ทรงเป็นราชโอรสของพระราชาแห่งนครศามพูกะ ได้สร้างรูปพระมุนีองค์นี้”
ท่านได้ตั้งข้อสังเกตุและชี้ให้เห็นถึงถ้อยคำอันน่าสนใจของคำว่า“นายก” และ“อธิบดี” ที่ฐานพระพุทธรูปองค์นั้น พร้อมกับอธิบายให้ทราบว่า เป็นตำแหน่งทางการเมืองการปกครองของ อาณาจักร ชื่อ-ถู-กวั่ว
ซึ่งราชทูตเสียง-จุ่น เขียนไว้ในจดหมายเหตุเมื่อ พ.ศ. 1150 ที่เรียกว่า นา-ยะ-เกีย กับ โป-ติ อันหมายถึง
ตำแหน่งรัชทายาทของอาณาจักรตามพรลิงค์ ประการหนึ่ง ตำแหน่งเจ้าเมือง ผู้ปกครองหัวเมืองต่างๆ อีกประการหนึ่ง ส่วนคำว่า โป-ติ อันหมายถึง ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานประจำเมืองต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กรมการเมือง ประการหนึ่งแปลว่า ผู้มีอำนาจเป็นใหญ่ในบ้านเมือง อีกประการหนึ่ง แม้ว่า “นายกอารชวะ” ผู้มีตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง “เมืองตงคุระ” อาจมีฐานะเพียงหัวเมืองขนาดเล็ก แต่จารึกดังกล่าวได้บอกให้ทราบถึงการจัดรูปแบบการเมืองการปกครองในภาคกลางของประเทศไทย เหมือนกับบ้านเมืองในคาบสมุทรทางภาคใต้ และเป็นรัฐที่นับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลานั้นอิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งเป็นรัฐที่นับถือศาสนาพราหมณ์ ได้หมดสิ้นไปจากสิ้นไปจากบริเวณตอนกลางของคาบสมุทรอินโดจีนแล้ว
กระแสการเมืองการปกครองและคลื่นวัฒนธรรมแบบใหม่ ได้หลั่งไหลเข้าไปมีอิทธิพลอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน ซึ่งรู้จักในนาม “ศิลปวัฒนธรรมทวารวดี” โดยมีศูนย์กลางความเคลื่อนไหวอยู่ที่เมืองลพบุรีและเมืองสวางบุรี แล้วแผ่ขยายถ่ายเทระบบการเมืองการปกครองและศิลปวัฒนธรรมใหม่ขึ้นไปทางเหนือถึงเมืองแสนหวี ในแคว้นสิบสองปันนาเมืองหลวงพระบาง ในประเทศลาว ดังปรากฏเรื่องราวอยู่ในตำนานพงศาวดารเหนือ ซึ่งมีลักษณะขัดแย้งกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในดินแดนประเทศไทย ล้วนบ่งบอกให้สันนิษฐานว่า“อิทธิพลคลื่นวัฒนธรรมใหม่” อันปรากฏรูปธรรมอยู่ใน “ศิลปะทวารวดี” คือ การนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานหรือลัทธิเถรวาท แสดงออกทางรูปเคารพของ“พระพุทธรูป” ตลอดจน “ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม” โดยลอกเลียนแบบมาจาก“ศิลปะสมัยคุปตะ” ที่รุ่งเรืองแพร่หลายอยู่ในประเทศอินเดียยุคนั้น
นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี ผู้มีความรอบรู้เรื่องราวในอดีตของดินแดนคาบสมุทรทางภาคใต้ ยังได้ร่วมกับศาสตราจารย์จอง บัวเซอร์ลิเย เดินทางไปศึกษาแหล่งอารยธรรมเก่าแก่บริเวณควนสราญรมย์หลังสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตาปีตอนล่าง ชี้ให้เห็นถึงศิลปโบราณวัตถุสกุลช่างทวารวดีทางภาคใต้ ที่มีลักษณะแตกต่างกับศิลปะสกุลช่างทวารวดีทางภาคใต้ ที่มีลักษณะแตกต่างกับศิลปะสกุลช่างทวารวดีในภาคกลางหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขุดค้นใต้ดินเพื่อศึกษารากฐานโบราณสถานเก่าแก่บริเวณนั้นพบว่า ระบบการเรียงอิฐ แบบการก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม ขนาดของอิฐที่ใช้ ตลอดจนลวดลายปูนปั้น คล้ายคลึงกับโบราณสถานสมัยทวารวดีทางภาคกลางแตกต่างกันแต่เพียงแผ่นอิฐที่ทำขึ้นในภาคใต้ไม่ผสมแกลบเหมือนในภาคกลางเท่านั้น ท่านจึงสรุปความเห็นยืนยันว่า ในดินแดนทักษิณรัฐได้สร้างสรรค์โบราณสถาน โบราณวัตถุ แบบเดียวกับศิลปกรรมสมัยทวารวดีทางภาคกลางแน่นอน แต่ถ้าไม่พิจารณาให้รอบคอบอาจสำคัญผิดว่าเป็นศิลปะสกุลช่างศรีวิชัย
น. ณ ปากน้ำ นักโบราณคดีผู้มีผลงานทางวิชาการมากมาย นอกจากเป็นผู้เสนอข้อมูลใหม่ อธิบายให้ทราบว่า การสร้างพระพุทธรูปซึ่งแต่เดิมเชื่อกันว่าทำขึ้นในแคว้นคันธารราฐตั้งแต่พระเจ้ามิลินท์นั้น บัดนี้เป็นที่ยุติกันแล้วว่า การสร้างพระพุทธรูปเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้ากนิษกะเป็นปฐมแล้ว ท่านยังได้เดินทางไปศึกษาศิลปอินเดีย ถ่ายภาพศิลปะสมัยคุปตะในพิพิธภัณฑ์ของประเทศนั้นไว้ทุกชิ้น และพยายามสืบสานงานค้นคว้าศิลปกรรมทางภาคใต้ เสนอบทความเรื่อง“ศิลปกรรมเก่าแก่ที่สุราษฎร์ธานี” ไว้ว่า
ศิลปะแบบคุปตะของชาวอินเดียระหว่างพุทธศตวรรษที่ 9-11 ได้เผยแพร่เข้ามารุ่งเรืองอยู่ในดินแดนภาคใต้ ชาวพื้นเมืองในแถบนั้นนำวัสดุในท้องถิ่นมาประติมากรรมเป็นเทวรูปพระวิษณุ พระพุทธรูป ลวดลายเครื่องประดับ สังเกตเห็นได้ชัดเจนว่า พยายามลอกเลียนศิลปะอินเดียสมัยนั้นได้อย่างใกล้เคียง ทั้งพัฒนาฝีมือกันอย่างต่อเนื่องสืบสานกันไปไม่ขาดสาย แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นบ่อเกิดของอารยธรรมสำคัญของ“ศูนย์กลางอำนาจทางการเมือง” ซึ่งสันนิษฐานว่า อาจเป็นที่ตั้งของ “เมืองพาน -พาน ” หรือ “เมืองหลั่ง-ยะ-สู ” ที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุจีนสมัยพุทธศตวรรษที่ 11 ศิลปกรรมเก่าแก่เหล่านั้นสร้างขึ้นจากฝีมือของช่างชาวแหลมทอง มิใช่นำมาจากอินเดีย มีลักษณะคล้ายคลึงกับศิลปะสมัยทวารวดีในภาคกลาง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เขียนหนังสือ “ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น